เงินเดือนเท่าไร ต้องเสียภาษี ?

หลังจากที่ศึกษาหลักเกณฑ์การยื่นภาษีกันไปแล้ว ในบทความนี้ ก็ถึงเวลาที่ต้องสำรวจรายได้ของตัวเอง สำหรับคนที่ทำงานประจำ ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชน พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือข้าราชการ รายได้สำคัญที่ต้องนำมาคำนวณภาษีคือ “เงินเดือน” นั่นเอง แล้วเงินเดือนต้องสูงขนาดไหน ถึงจะต้องเสียภาษี มาคำนวณไปพร้อม ๆ กันได้ที่บทความนี้เลย

หรือจะใช้ตัวช่วยอย่างโปรแกรมคำนวณภาษีก็ได้เช่นกัน คลิกที่นี่ 

ส่วนใครที่เพิ่งยื่นภาษีออนไลน์ครั้งแรก ยังไม่คุ้นชินกับหน้าตาของเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ดูวิธียื่นภาษีได้ที่บทความ ยื่นภาษีออนไลน์ 2566 ได้ถึงวันไหน พร้อมวิธียื่นภาษี
 

เงินเดือนเท่าไรต้องเสียภาษี ?

เหล่ามนุษย์เงินเดือนมักมีคำถามเสมอว่า เงินเดือนเท่าไร ต้องเริ่มเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยทั่วไปคนมักเข้าใจผิดกันว่า ผู้ที่มีเงินเดือนรวมทั้งปีไม่เกิน 150,000 บาทนั้นไม่จำเป็นต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี แต่แท้จริงแล้ว ในกรณีที่โสด หากมีเงินเดือนรวมทั้งปีเกิน 120,000 บาทขึ้นไป จำเป็นต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี แม้จะยังไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีก็ตาม

สำหรับการคำนวณภาษีนั้น ต้องนำเงินเดือนรวมทั้งปีมาคำนวณหา “เงินได้สุทธิ” โดยหักเงินได้ที่ได้รับยกเว้น ค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน และเงินบริจาค โดยผู้ที่มีเงินได้สุทธิ 150,000 บาทขึ้นไป ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยคำนวณจาก...

เงินเดือนรวมทั้งปี - [เงินได้ที่ได้รับยกเว้น (ถ้ามี) + ค่าใช้จ่าย + ค่าลดหย่อน + เงินบริจาค] = เงินได้สุทธิ

เมื่อได้ “เงินได้สุทธิแล้ว” ให้นำไปเทียบหา “อัตราภาษี” ในตารางด้านล่าง เพื่อคำนวณหาจำนวนภาษีที่ต้องชำระ

ภาษีที่ต้องชำระ = เงินได้สุทธิ × อัตราภาษี (5-35%)

เงินได้สุทธิต่อปี (บาท) อัตราภาษี
ไม่เกิน 150,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษี
ตั้งแต่ 150,001 บาท - 300,000 บาท 5%
ตั้งแต่ 300,001 บาท - 500,000 บาท 10%
ตั้งแต่ 500,001 บาท - 750,000 บาท 15%
ตั้งแต่ 750,001 บาท - 1,000,000 บาท 20%
ตั้งแต่ 1,000,001 บาท - 2,000,000 บาท 25%
ตั้งแต่ 2,000,001 บาท - 5,000,000 บาท 30%
ตั้งแต่ 5,000,001 บาท ขึ้นไป 35%

ตัวอย่าง

นายโอชิ ได้รับเงินเดือนเดือนละ 35,000 บาท (ไม่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย) ตั้งแต่เดือนม.ค. - ธ.ค. 2566 โดยมีรายได้แค่ช่องทางเดียว โดยนายโอชิยังโสด แต่ต้องอุปการะมารดาอายุ 62 ปี เนื่องจากมารดาไม่มีเงินได้ นอกจากนั้น นายโอชิยังทำประกันสะสมทรัพย์ โอเชี่ยนไลฟ์ ออมสบาย 10/5 โดยชำระเบี้ยประกันชีวิตปีละ 30,000 บาท และยังบริจาคให้มูลนิธิสงเคราะห์สัตว์จำนวน 1,000 บาทอีกด้วย

นายโอชิจะต้องคำนวณเงินได้สุทธิดังนี้

  1. เงินเดือน 35,000 × 12 = 420,000 บาท
  2. ค่าใช้จ่าย 420,000 × 50% = 210,000 แต่กฏหมายกำหนดไว้ให้ไม่เกิน 100,000 บาท ดังนั้น นายโอชิหักค่าใช้จ่ายได้เพียง 100,000 บาทเท่านั้น
  3. ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท
  4. ค่าอุปการะเลี้ยงดูมารดาที่อายุเกิน 60 ปี จำนวน 30,000 บาท
  5. ค่าเบี้ยประกันชีวิต ปีละ 30,000 บาท
  6. เงินบริจาค 1,000 บาท

เนื่องจากนายโอชิไม่มีเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นในปี 2566 จึงไม่ต้องนำมาคำนวณหาเงินได้สุทธิ

เงินเดือนรวมทั้งปี - [ค่าใช้จ่าย + ค่าลดหย่อน + เงินบริจาค] = เงินได้สุทธิ

420,000 - [100,000 + (60,000 + 30,000 + 30,000) + 1,000] = 199,000

ดังนั้น นายโอชิ มีเงินได้สุทธิทั้งหมด 199,000 บาท จึงต้องเสียภาษี 5% โดยจะได้รับการยกเว้นภาษีในส่วน 150,000 บาทแรก และส่วนที่เหลือ 49,000 บาทต้องเสียภาษีในอัตรา 5% คิดเป็นเงินภาษีทั้งปีเท่ากับ 2,450 บาท

จากตัวอย่างดังกล่าว จะเห็นว่านายโอชิเสียภาษีในจำนวนไม่มากนัก จึงชำระได้อย่างไม่ลำบาก ซึ่งหากไม่มีการทำประกันลดหย่อนภาษีเอาไว้ นายโอชิจะต้องเสียภาษีในจำนวนที่สูงกว่า ดังนั้น ทุกคนจึงควรทำประกันลดหย่อนภาษีไว้บ้าง โดยเฉพาะคนที่มีรายได้สูงกว่าตัวอย่างที่ยกมาข้างต้น

OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิต ขอแนะนำประกันสะสมทรัพย์ ลดหย่อนภาษีในตำนาน

ลดหย่อนได้สูงสุด 1 แสน ไม่ต้องเสี่ยงกับความผันผวนของตลาด
ขอทำประกันลดหย่อนภาษี โอเชี่ยนไลฟ์ ออมสบาย 10/5 คลิก

สำหรับผู้ที่ยื่นแบบฯ เรียบร้อยแล้วพบว่ามีภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติม สามารถดูช่องทางการจ่ายภาษีแบบออนไลน์ พร้อมวิธีผ่อนจ่ายภาษีได้ที่นี่ และสำหรับผู้ที่ชำระภาษีไว้เกิน และต้องการขอคืนภาษี อย่าลืมอัปโหลดเอกสารที่สำคัญต่าง ๆ ซึ่งสามารถเช็กได้ที่นี่

ข้อควรทราบ :

  • โอเชี่ยนไลฟ์ออมสบาย 10/5 เป็นชื่อทางการตลาดของแบบประกันไทยสมุทรออมสบาย 10/5
  • การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
  • ความคุ้มครอง และการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
  • เบี้ยประกันชีวิต สามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
  • ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันชีวิต ไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทฯ นำส่งข้อมูลเบี้ยประกันชีวิตให้กรมสรรพากร
  • การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยการที่ตัวแทนประกันชีวิตมาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น
  • ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม

อ้างอิง : 

คู่มือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยกรมสรรพากร

สิทธิพิเศษที่เกี่ยวข้อง

OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ เข้าถึงสิทธิประโยชน์ และกิจกรรมมากมาย
สะดวก รวดเร็ว พร้อม ช้อป ชิม ชิล ไปกับ OCHI COIN

QR Code Application
ดาวน์โหลดเลย
OCEAN CLUB APP

บอกข้อมูลสั้นๆ เกี่ยวกับตัวคุณ
เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม

วันหยุดวันฉัตรมงคล 4-6 พฤษภาคม 2567
ฉันต้องการค้นหาเกี่ยวกับ