เช็กก่อนยื่นภาษี 2566 หลักเกณฑ์การลดหย่อนภาษี มีอะไรบ้าง

ลดหย่อนภาษี 2566 มีอะไรบ้าง


ก่อนถึงวันยื่นภาษี มาอัปเดตหลักเกณฑ์การลดหย่อนสำหรับปีภาษี 2566 กันดีกว่า ปีนี้มีรายละเอียดที่เปลี่ยนแปลงจากปี 2565 เล็กน้อย เนื่องจากมีโครงการช้อปดีมีคืนเพิ่มเติมเข้ามา ซึ่งรายละเอียดต่างจากโครงการช้อปดีมีคืนในปีก่อนหน้าอยู่พอสมควร

สำหรับใครที่ยังไม่มีตัวช่วยในการลดหย่อนภาษี ประกันสะสมทรัพย์ โอเชี่ยนไลฟ์ ออมสบาย 10/5 มีเงินคืนสูง เพื่อให้คุณไปลงทุนต่อ โดยปีที่ 1 - 6 มีเงินคืนปีละ 20% ณ สิ้นปีกรมธรรม์ และรับเต็ม ๆ ปีที่ 7 – 9 ปีละ 100% ณ สิ้นปีกรมธรรม์

 

ลดหย่อนได้ 1 แสน ไม่ต้องรอนาน 8 ปี ไม่ต้องเสี่ยงกับความผันผวนของตลาด
ทำประกันลดหย่อนภาษี โอเชี่ยนไลฟ์ ออมสบาย 10/5คลิก

 

ยื่นภาษี 2566 ได้ถึงเมื่อไร

ระยะเวลายื่นภาษีออนไลน์ประจำปี 2566 เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม - 9 เมษายน 2567

หลักเกณฑ์ลดหย่อนภาษี 2566
 

1. ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว 

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว ลดหย่อนสูงสุด 60,000 บาท สามารถลดหย่อนภาษีได้โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส ลดหย่อนสูงสุด 60,000 บาท สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องถามกฎหมาย และคู่สมรสจะต้องไม่มีเงินได้
  • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ที่จ่ายให้กับสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาทต่อการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง
  • ค่าลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมาย/บุตรบุญธรรม ลดหย่อนได้ คนละ 30,000 บาท โดยบุตรต้อง (1) เป็นผู้เยาว์ที่มีอายุไม่เกิน 20 ปี หรือ (2) ยังศึกษาในมหาวิทยาลัย/อุดมศึกษา (3) เป็นบุคคลไร้ความสามารถ/ เสมือนไร้ความสามารถ ที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี 

    การลดหย่อนบุตรบุญธรรม ต้องใช้สิทธิลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมายก่อน โดยบุตรบุญธรรมเมื่อรวมกับบุตรชอบด้วยกฎหมาย ต้องไม่เกิน 3 คน (หากใช้สิทธิลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมาย 3 คนแล้ว จะใช้สิทธิลดหย่อนบุตรบุญธรรมไม่ได้)

    สำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมายคนที่ 2 เป็นต้นไป ที่เกิดตั้งแต่ปี 2561 สามารถลดหย่อนเพิ่มอีก คนละ 30,000 บาท รวมเป็นคนละ 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนบิดามารดา สำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเอง และบิดามารดาของคู่สมรส จำนวนคนละ 30,000 บาทต่อปี สูงสุดไม่เกิน 4 คน และไม่เกิน 120,000 บาท โดยบิดามารดาต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยหากมีบุตรหลายคน บุตรจะไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนซ้ำซ้อนกันได้ เช่น นาย A และ นาย B เป็นพี่น้องกัน ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนสำหรับบิดาพร้อมกันทั้งคู่ ดังนั้น นาย A และนาย B ต้องตกลงกันว่าในปี 2567 นี้ ใครจะเป็นผู้ใช้สิทธิดังกล่าว สมมติว่านาย A จะเป็นผู้ใช้สิทธิในปี 2567 ต่อมาในปี 2568 สามารถสลับให้นาย B เป็นผู้ใช้สิทธิได้ เป็นต้น อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิลดหย่อนพ่อแม่โดยเฉพาะ ได้ที่นี่

  • ค่าลดหย่อนภาษีอุปการะเลี้ยงดูผู้พิการหรือผู้ทุพพลภาพ จำนวน 60,000 บาทต่อคน และผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และต้องเป็นผู้ที่ดูแลคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ


2. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน

  • เงินประกันสังคม ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท 
  • เบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท  โดยเงื่อนไขของค่าลดหย่อนประกันชีวิตคือ ต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป (อ่านเงื่อนไขการลดหย่อนภาษีของประกันสะสมทรัพย์ได้ที่นี่
  • ค่าเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรส ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท เฉพาะกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้
  • เบี้ยประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท โดยเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยบิดามารดาไม่จำเป็นต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป แต่ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท เฉพาะบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นที่มีสิทธิลดหย่อน (ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม) 
  • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้สูงสุด 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และค่าลดหย่อนเมื่อรวมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และ RMF แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ให้ลดหย่อนภาษีได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในอัตราไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี  แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยต้องซื้อต่อเนื่องกันทุกปี
  • กองทุนรวมเพื่อการออม หรือ SSF ให้ลดหย่อนภาษีได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในอัตราไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี  และไม่เกิน 200,000 บาท
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ร้อยละ 15 ของค่าจ้าง และ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท (โดย 10,000 บาทแรกหักเป็นรายการลดหย่อน ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท หักเป็นรายการยกเว้นเงินได้)
  • กองทุน TESG ให้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้พึงประเมิน และไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับปีภาษีที่มีการลงทุน
  • กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท 
  • กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) สามาถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ให้ลดหย่อนตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000บาท 
  • เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) สามารถหักลดหย่อนเงินลงทุนในหุ้นหรือการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการจัดตั้งหรือเพื่อการเพิ่มทุนได้ไม่เกิน 100,000 บาท

 


3. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค

  • เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้สูงสุด 10% ของเงินได้ หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น
  • เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา เงินบริจาคสนับสนุนการกีฬา เงินบริจาคให้แก่สถานพยาบาลของรัฐ ผ่านระบบ e-Donation มีสิทธิลดหย่อนได้ 2 เท่า สูงสุด 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น
  • เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง ลดหย่อนได้ สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท


4. ค่าลดหย่อนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์

ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท


5. ค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ

โครงการช้อปดีมีคืน สามารถลดหย่อนภาษี จากค่าสินค้า/บริการตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 40,000 บาท แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรก ค่าสินค้า/บริการจำนวนไม่เกิน 30,000 บาทแรก ที่มีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป หรือใบรับ โดยใช้ได้ทั้งแบบกระดาษ หรือ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt และส่วนที่เหลืออีก 10,000 บาท ใช้ได้เฉพาะ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt เท่านั้น อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่เข้าร่วมโครงการได้ที่นี่

ทราบหลักเกณฑ์การลดหย่อนภาษีกันไปแล้ว ขั้นตอนต่อไปในการเตรียมตัวก่อนยื่นภาษี คือการลองคำนวณภาษีออนไลน์ เพื่อตรวจสอบจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษี (หรือจำนวนเงินที่ได้คืน) โดย OCEAN LIFE ไทยสมุทร มีโปรแกรมคำนวณภาษีอัปเดตใหม่ล่าสุด ใช้งานง่ายมาก ๆ

“OCEAN LIFE ไทยสมุทรขอแนะนำ โปรแกรมคำนวณภาษี แค่แชทกับโอชิก็คำนวณภาษีได้คลิก

ข้อควรทราบ :

  • % หมายถึง เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
  • การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
  • เบี้ยประกันชีวิต สามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด 
  • ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันชีวิตไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทฯนำส่งข้อมูลเบี้ยประกันชีวิตให้กรมสรรพากร 
  • การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยการที่ตัวแทนประกันชีวิตมาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น
  • ความคุ้มครอง และการจ่ายผลประโยชน์ต่างๆ เป็นไปตามเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ 
  • ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้งเมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม

 

อ้างอิง : 

https://www.rd.go.th/60059.html
https://www.rd.go.th/62777.html
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
กองวิชาการแผนภาษี กรมสรรพากร

OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ เข้าถึงสิทธิประโยชน์ และกิจกรรมมากมาย
สะดวก รวดเร็ว พร้อม ช้อป ชิม ชิล ไปกับ OCHI COIN

QR Code Application
ดาวน์โหลดเลย
OCEAN CLUB APP

บอกข้อมูลสั้นๆ เกี่ยวกับตัวคุณ
เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม

วันคล้ายวันประสูติเจ้าฟ้าทีปังกร 29 เม.ย. 2567
ฉันต้องการค้นหาเกี่ยวกับ