5 โรคประจำตัวที่คนไทยเป็นเยอะที่สุด

โรคที่คนไทยเป็นเยอะที่สุด

 

ด้วยสิ่งแวดล้อม สภาพสังคม และวิถีชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน ทำให้คนไทยมากกว่าล้านคน มีโอกาสเป็นโรคประจำตัวที่ต้องเสียทั้งเงินและเวลาในการรักษา บทความนี้ จะนำเสนอ 5 โรคที่คนไทยเป็นเยอะที่สุด ซึ่งเป็นข้อมูล ณ วันที่ 14 มิถุนายน 2566 มาดูกันเลยว่ามีโรคอะไรบ้าง พร้อมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดโรค เพื่อให้ทุกท่านหลีกเลี่ยง และป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ ได้

 

1. โรคอ้วน

จำนวนคนไทยที่เป็นโรคอ้วน : 2,257,671 คน

ผู้ที่เป็นโรคอ้วน ได้แก่ ผู้ที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือค่า BMI  ตั้งแต่ 25 โดยสามารถคำนวณค่า BMI ได้ดังนี้

น้ำหนักหน่วยเป็นกิโลกรัม / (ส่วนสูงหน่วยเป็นเมตร)

เช่น นางสาว A น้ำหนัก 86 กิโลกรัม และสูง 156 เซนติเมตร มีค่า BMI 35.34 ซึ่งมากกว่า 25 ดังนั้น จึงถือว่านางสาว A เป็นโรคอ้วน

โรคอ้วนเกิดจากการรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงจนเกินความต้องการเป็นประจำ และไม่ถูกหลักโภชนาการ โดยเฉพาะผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างไวน์ และเบียร์ที่ดูดซึมอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายหลั่งอินซูลินเป็นปริมาณมาก ส่งผลให้เป็นโรคอ้วนได้ อีกทั้งกรรมพันธุ์ โรคต่อมไร้ท่อ การสูบบุหรี่ และยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้โรคซึมเศร้า เป็นต้น ยังส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นได้ด้วย

นอกจากนั้น ผู้หญิงยังมีโอกาสเป็นโรคอ้วนได้ง่ายกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้ชายมีกล้ามเนื้อมากกว่า ซึ่งกล้ามเนื้อจะเผาผลาญพลังงานได้ดี ดังนั้น โดยรวมแล้วผู้ชายจึงเผาผลาญพลังงานได้มากกว่าผู้หญิง จึงอ้วนได้ยากกว่า

 

2. โรคเบาหวาน

จำนวนคนไทยที่เป็นโรคเบาหวาน : 1,181,575 คน

โรคเบาหวาน เกิดจากความบกพร่องของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งผลิตจากตับอ่อน ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ โดยโรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 4 ชนิดตามสาเหตุการเกิดของโรค ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความ 6 โรคคนแก่ พบบ่อยในผู้สูงอายุ

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานแล้ว ควรเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามเป้าหมาย เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่อาจเกิดขึ้น

 

3. โรคไต

จำนวนคนไทยที่เป็นโรคไต : 1,098,942 คน

โรคไต เกิดจากโรคต่าง ๆ ที่มีผลกระทบกับไต เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เกาต์ นิ่วในไต เป็นต้น รวมถึงการใช้ยาผิดประเภท หรือเกินขนาด ที่จะทำให้การทำงานของไตลดลง นอกจากนั้น พฤติกรรมในชีวิตประจำวันก็อาจเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคไตได้เช่นกัน เช่น รับประทานอาหารรสจัดและอาหารที่มีโซเดียมสูง ดื่มน้ำน้อยเกินไป มีความเครียด ขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตแล้ว ควรเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ควบคุมความดันโลหิตให้น้อยกว่า 130/80 และระดับน้ำตาลสะสมน้อยกว่าร้อยละ 7 ควบคุมการทานอาหารกลุ่มโปรตีนและอาหารรสเค็ม หลีกเลี่ยงการใช้ยาหม้อ ยาชุด โดยไม่ปรึกษาแพทย์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

 

4. โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง

จำนวนคนไทยที่เป็นโรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง : 730,517 คน

โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหอบหืด สำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือที่มักเรียกกันว่า “โรคถุงลมโป่งพอง” เกิดจากการที่เราหายใจเอามลภาวะที่เป็นพิษ ซึ่งอาจอยู่ในรูปก๊าซหรือฝุ่นเข้าไป เช่น ควันบุหรี่ ควันพิษ และสารเคมี ที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง เป็นต้น ทำให้มีการระคายเคือง เกิดการอักเสบ และมีการทำลายระบบทางเดินหายใจคือ หลอดลม เนื้อปอด และหลอดเลือดปอด

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแล้ว แพทย์อาจให้ยา เพื่อบรรเทาอาการและเพิ่มคุณภาพชีวิต นอกจากนั้นควรออกกำลังกายฟื้นฟูสมรรถภาพปอด งดสูบบุหรี่ และฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

ส่วนโรคหอบหืด เป็นการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ซึ่งเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ที่ทำให้หลอดลมของผู้ป่วยมีปฏิกิริยาต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าคนปกติ ส่งผลให้ไอ และหายใจไม่สะดวก

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดหอบหืดแล้ว ควรหลีกเลี่ยง หรือขจัดสิ่งต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้หรือกระตุ้นอาการหอบหืด อาทิ ไรฝุ่น แมลงสาบ สปอร์เชื้อรา เกสร วัชพืช น้ำหอม สารเคมี ควันจากท่อไอเสีย อากาศที่ร้อนจัด/เย็นจัด เป็นต้น นอกจากนั้น แพทย์อาจยารักษาชนิดสูดร่วมกับยาขยายหลอดลม และถ้าโรคหอบหืดมีอาการรุนแรงและเป็นบ่อย ควรใช้เครื่องวัดการทำงานของปอดอยู่เป็นประจำ เพื่อป้องกันการรักษาที่อาจล่าช้า

 

5. โรคมะเร็งทุกชนิด

จำนวนคนไทยที่เป็นโรคมะเร็งทุกชนิด : 306,995 คน

มีปัจจัยภายนอกมากมายที่อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีสารก่อมะเร็ง อย่างสารที่เกิดจากการปิ้งย่าง การได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือพยาธิ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีปัจจัยภายในที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้เช่นกัน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ 7 โรคร้ายแรงมีอะไรบ้าง ?

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง ผู้ป่วยแต่ละระยะของโรคมะเร็งจะได้รับการรักษาที่แตกต่างกันออกไป โดยการรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบันมีทั้งหมด 7 แนวทางด้วยกัน คือ 

  • การรักษาด้วยการศัลยกรรม
  • การรักษาด้วยรังสีรักษา
  • การรักษาด้วยเคมีบำบัด
  • การรักษาด้วยยามุ่งเป้า
  • การรักษามะเร็งเฉพาะจุด
  • การบำบัดด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด
  • การรักษาโดยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด

ทั้ง 5 โรคที่คนไทยเป็นเยอะที่สุด เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องเสียทั้งเวลา และเงินทองในการรักษา หากไม่มีประกันสุขภาพ หรือประกันโรคร้ายแรง ก็อาจจะสร้างความลำบากให้กับผู้ป่วยได้ ดังนั้น OCEAN LIFE ไทยสมุทร ขอแนะนำประกันทั้ง 2 ประเภท ดังนี้

 

ประกันสุขภาพโอชิ สมอล เฮลท์ คลิก

  • คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน (IPD) แบบเหมาจ่ายตามจริง
  • คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD) สูงสุดครั้งละ 1,000 บาท* ครอบคลุมค่าล้างไต เคมีบำบัด รังสีบำบัด สูงสุด 50,000 บาทต่อปี*
  • ผลประโยชน์กรณีเสียชีวิต 50,000 บาท


ประกันโรคร้ายแรง โอชิ ซีไอ ท็อปทรี เอ็กซ์ตร้า คลิก

  • คุ้มครอง 7 โรคร้ายแรง
  • คุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสูงสุด 500,000 บาท
  • หากไม่เคลมตลอด 3 ปี รับเงินคืน 10% ของเบี้ยประกันภัยที่ชำระสะสม ในวันครบกำหนดสัญญา

 

ข้อควรทราบ : 

* กรณีเลือกทำโครงการโอชิ สมอล เฮลท์ (Ochi Small Health Package) แผน 3

  • โครงการโอชิ สมอล เฮลท์ (Ochi Small Health Package) เป็นชื่อทางการตลาดของแบบประกันโอเชี่ยนไลฟ์ สมาร์ท โพรเทคชั่น 99/99 แนบสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพ สมอล เฮลท์ (Small Health) และบันทึกสลักหลังค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก (OPD)
  • โอชิ ซีไอ ท็อปทรี เอ็กซ์ตร้า (Ochi CI Top 3 Extra) เป็นชื่อทางการตลาดของแบบประกันโรคร้าย ท็อปทรี เอ็กซ์ตร้า
  • การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
  • ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่างๆ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
  • เบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพ สามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด 
  • ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทฯนำส่งข้อมูลเบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพให้กรมสรรพากร 
  • การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยการที่ตัวแทนประกันชีวิตมาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น
  • ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม

 

อ้างอิง : 

กระทรวงสาธารณสุข
มหาวิทยาลัยมหิดล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย
โรงพยาบาลวิชัยเวช หนองแขม
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
โรงพยาบาลเพชรเวช
สถาบันทรวงอก กระทรวงสาธารณสุข
Rama Channel มหาวิทยาลัยมหิดล

OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ เข้าถึงสิทธิประโยชน์ และกิจกรรมมากมาย
สะดวก รวดเร็ว พร้อม ช้อป ชิม ชิล ไปกับ OCHI COIN

QR Code Application
ดาวน์โหลดเลย
OCEAN CLUB APP

บอกข้อมูลสั้นๆ เกี่ยวกับตัวคุณ
เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม

ฉันต้องการค้นหาเกี่ยวกับ