6 โรคคนแก่ พบบ่อยในผู้สูงอายุ

6 โรคคนแก่ พบบ่อยในผู้สูงอายุ

 

ยิ่งแก่ตัวขึ้น ร่างกายของคนเรายิ่งเสื่อมถอยลงทุกวัน ทำให้มีโอกาสเป็นโรคต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะ 6 โรคฮิตด้านล่าง ที่หลาย ๆ คนเรียกกันว่าโรคคนแก่ เพราะมักพบเจอในผู้สูงอายุนั่นเอง

แม้ว่าเราจะไม่สามารถหยุดความชราได้ และอาจต้องพบเจอกับโรคคนแก่เหล่านี้สักวันหนึ่ง แต่เราสามารถชะลอความเสื่อมถอยได้บ้าง ด้วยการสังเกตตัวเองว่ามีอาการของโรคต่าง ๆ หรือไม่ พร้อมดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดของโรค โดยสามารถอ่านรายละเอียดดังกล่าวได้ที่บทความนี้

 

“ดูแลสุขภาพร่างกายแล้ว อย่าลืมดูแลสุขภาพทางการเงินให้แข็งแรงด้วยประกันผู้สูงอายุ โอเชี่ยนไลฟ์ สมาร์ท ซีเนียร์ 90/90 คลิก

 

1. โรคหลอดเลือดสมอง

สาเหตุ เกิดจากภาวะหลอดเลือดอุดตันหรือภาวะหลอดเลือดตีบจนเลือดไม่ไปเลี้ยงสมอง หรืออาจเกิดจากการฉีกขาดของหลอดเลือดฝอยเล็ก ๆ นอกจากนั้นอาจเกิดจากหลอดเลือดโป่งพองจนแตกออก สำหรับในผู้สูงอายุ อาจเกิดจากผนังหลอดเลือดสูญเสียความยืดหยุ่นไปด้วยก็ได้

อาการ ภาวะความผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง ทำให้ผู้ป่วยมักมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่ามัว แขนขาอ่อนแรง หรือมีการพูดไม่ชัด และอาจเกิดในระยะสั้น ๆ

การป้องกัน

  • ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง ถ้าพบต้องรีบรักษาและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ห้ามหยุดยาเอง และควรรีบพบแพทย์ทันทีถ้ามีอาการผิดปกติที่แสดงว่าเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอชั่วคราว แม้ว่าอาการจะหายไปเองก็ตาม
  • ไม่เครียด
  • ควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมัน น้ำตาลในเลือด และน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ควบคุมอาหารให้สมดุล ทานให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม หวาน มัน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 3 ครั้งต่อสัปดาห์
  • งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ผู้ที่เป็นหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันแล้ว แพทย์จะให้การรักษาโดยใช้ยาเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง แต่การใช้ยาเหล่านี้จำเป็นต้องมีการติดตามผลและใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เนื่องจากถ้ามีการใช้ยาผิด หรือไม่มีการติดตามดูแลอย่างสม่ำเสมออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรง เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

 

2. โรคหัวใจขาดเลือด

สาเหตุ เกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบแคบลง หรืออุดตันจนปิดกั้นการไหลเวียนของเลือด เนื่องจากไขมันเกาะภายในผนังหลอดเลือดหัวใจ หากเป็นระยะเวลานานอาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และอาจทำให้เสียชีวิตกะทันหันได้

อาการ อาการและสัญญาณเตือนของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน คือ จุกแน่นหน้าอก มีเหงื่อออก ใจสั่น ปวดร้าวไปถึงกราม สะบักหลัง แขนซ้าย จุกคอหอย จุกใต้ลิ้นปี่ คล้ายโรคกระเพาะ หรือกรดไหลย้อน อย่างไรก็ตาม โรคนี้มักเกิดขึ้นทันทีแบบเฉียบพลัน มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิตเฉียบพลันจากโรคหัวใจขาดเลือดมักไม่เคยแสดงอาการมาก่อน

การป้องกัน

  • ตรวจสุขภาพประจำปี
  • หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันประเภทอิ่มตัว เช่น ไขมันจากเนื้อสัตว์ อาหารฟาสต์ฟูด เนยและผลิตภัณฑ์จากนมที่ไม่พร่องไขมัน
  • รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้นในแต่ละมื้อ
  • ควบคุมระดับความดันโลหิต และน้ำตาลในเลือด

 

3. โรคความดันโลหิตสูง

สาเหตุ ผู้ป่วยส่วนใหญ่กว่า 90 - 95 เปอร์เซ็นต์ ไม่สามารถตรวจหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ว่าเกิดขึ้นจากอะไร โดยทางการแพทย์นั้นได้อธิบายโรคความดันโลหิตสูงนี้ว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์ เช่น เกิดจากกรรมพันธุ์ และอายุที่มากขึ้น เป็นต้น

ผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้ จะมีความดันโลหิตอยู่ในระดับสูงผิดปกติ คือมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท

อาการ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการแต่อย่างใด อาจมีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ เวียนศีรษะ บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะตุบ ๆ เหมือนไมเกรน ในผู้ป่วยที่เป็นมานาน อาจมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ เป็นต้น

การป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงอาหารเค็มทุกชนิด
  • เน้นทานผักและผลไม้ที่ให้สารอาหารโพแทสเซียม เช่น ฟักทอง บรอกโคลี ผักโขม มะเขือเทศ มะละกอ มะม่วง กล้วย ฝรั่ง เป็นต้น
  • ควรดื่มนมและผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำที่ให้แคลเซียม ธัญพืช และถั่วเปลือกแข็งที่ให้แม็กนีเซียม และเส้นใยอาหาร เช่น ถั่วแดง เต้าหู้ งา เป็นต้น
  • ควบคุมน้ำหนักตัว โดยเส้นรอบเอว ไม่ควรเกินส่วนสูงของตัวเองหารด้วยสอง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 3-4 วันต่อสัปดาห์ วันละ 30-60 นาที
  • งดหรือลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่
  • ผู้มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยทุก 2 ปี หากอายุเลย 35 ควรตรวจทุก 1 ปี
  • ผู้มีความดันโลหิตระหว่าง 120/80 ถึง 139/89 มม. ปรอท จัดเป็นกลุ่มเสี่ยง ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง

 

4. โรคอัลไซเมอร์

สาเหตุ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในสมองจนบางส่วนของสมองทำหน้าที่ลดลง ทำให้กระทบกับการทำงานของสมองส่วนนั้น อย่างไรก็ตามยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของโรคอัลไซเมอร์ที่ชัดเจน

อาการ ผู้ป่วยจะมีปัญหาด้านความจำเป็นอาการหลัก ผู้ป่วยจะไม่สามารถจดจำ และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ หลงลืมสิ่งของ ถามซ้ำ ๆ เป็นต้น และจะเกิดความบกพร่องของการรู้คิดด้านอื่นร่วมด้วย เช่น หลงทาง ไม่สามารถจัดการกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานได้เอง มีปัญหาด้านอารมณ์ พฤติกรรม และความผิดปกติทางจิต เช่น หงุดหงิด เฉื่อยชาและเฉยเมย ขาดการยับยั้งชั่งใจ ประสาทหลอน เป็นต้น

การป้องกัน

  • ฝึกฝนสมอง เช่น คิดเลข อ่านหนังสือ เล่นเกมส์ หรือฝึกการใช้อุปกรณ์ใหม่ ๆ
  • พบปะพูดคุยกับผู้อื่นบ่อย ๆ การมีความสัมพันธ์ทางสังคม เช่น ไปวัด ไปงานเลี้ยง เข้าชมรมผู้สูงอายุ ฯลฯ เป็นต้น
  • ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุต่อสมอง การพลัดตกหกล้ม
  • ดูแลสุขภาพร่างกายให้ดี ด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 ไม่สูบบุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพประจำปี

 

5. โรคเบาหวาน

สาเหตุ

สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานมีอยู่ 4 สาเหตุ ซึ่งถูกแบ่งตามประเภทของโรคเบาหวาน ดังนี้

  • โรคเบาหวานชนิดที่ 1เกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลายจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ขาดอินซูลิน มักพบในเด็ก
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน มักพบในผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 
  • โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์
  • โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ เกิดจากโรคทางพันธุกรรม โรคของตับอ่อน โรคทางต่อมไร้ท่อ ยาบางชนิด เป็นต้น

อาการ

  • หิวน้ำบ่อย
  • ปัสสาวะบ่อยและปริมาณมาก
  • น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่มีสาเหตุ
  • ตาพร่า ตามัว
  • มือและปลายเท้าชา

การป้องกัน

  • ลดปริมาณของหวานหรืออาหารจำพวกแป้งและคาร์โบไฮเดรตต่าง ๆ ลง เช่น น้ำอัดลม ขนมหวาน เบเกอรี่ เป็นต้น
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่

 

6. โรคข้อเข่าเสื่อม

สาเหตุ เกิดจากการเสื่อมสภาพ ของผิวกระดูกอ่อนตามวัย ซึ่งสัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น น้ำหนักตัว กรรมพันธุ์ หรืออาจเคยประสบอุบัติเหตุ มีการบาดเจ็บที่ข้อและเส้นเอ็น การบาดเจ็บเรื้อรังที่บริเวณข้อเข่า จากการทำงานหรือเล่นกีฬา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เก๊าต์ ข้ออักเสบติดเชื้อ โรคของต่อมไร้ท่อ เป็นต้น

อาการ เริ่มปวดเข่าเวลามีการเคลื่อนไหว เช่น เดินขึ้นลงบันได นั่งพับเข่า หรือเมื่อมีการหยุดเคลื่อนไหวเป็นเวลานานแล้วเริ่มขยับข้อ จะรู้สึกถึงการเสียดสีของกระดูกหรือมีเสียงดังในข้อ เมื่อมีภาวะข้อเสื่อมรุนแรง อาการปวดจะรุนแรงมากขึ้น เหยียดหรืองอข้อเข่าได้ไม่ค่อยสุด กล้ามเนื้อต้นขาลีบ ข้อเข่าโก่ง หลวม หรือบิดเบี้ยวผิดรูป ทำให้ใช้ชีวิตประจำวันลำบาก

การป้องกัน

  • ปรับอิริยาบถในชีวิตประจำวัน เช่น หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ หรือการยกหรือแบกของหนัก ๆ
  • ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อรอบข้อแข็งแรง ในระยะที่มีอาการปวดควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องกระโดด เช่น วิ่ง หรือเล่นเทนนิส เป็นต้น การออกกำลังกายที่แนะนำในช่วงนี้ ได้แก่ ว่ายน้ำ เดิน เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า การป้องกันโรคคนแก่ต่าง ๆ นั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม และที่สำคัญคือการตรวจสุขภาพ ที่ควรทำเป็นประจำทุกปี

 

ข้อควรทราบ แบบประกัน โอเชี่ยนไลฟ์ สมาร์ท ซีเนียร์ 90/90 :

  • การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด
  • ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
  • ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์ประกันภัยแล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม

 

ข้อมูลจาก :

โรงพยาบาลรามาธิบดี
Siriraj Stroke Center
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
โรงพยาบาลราชวิถี
โรงพยาบาลรามาธิบดี
โรงพยาบาลศิครินทร์
สภากาชาดไทย
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมป์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โรงพยาบาลรามาธิบดี

 

OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ เข้าถึงสิทธิประโยชน์ และกิจกรรมมากมาย
สะดวก รวดเร็ว พร้อม ช้อป ชิม ชิล ไปกับ OCHI COIN

QR Code Application
ดาวน์โหลดเลย
OCEAN CLUB APP

บอกข้อมูลสั้นๆ เกี่ยวกับตัวคุณ
เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม

ฉันต้องการค้นหาเกี่ยวกับ