ซื้อบ้านต้องเตรียมอะไรบ้าง แล้วประกันสินเชื่อบ้าน จำเป็นไหม

ประกันสินเชื่อบ้าน จำเป็นไหม

บ้าน เป็นปัจจัยสี่ที่ถือว่าราคาสูงมาก โดยการซื้อบ้านแต่ละหลัง แม้ว่าเราจะเลือกซื้อแบบที่ราคาย่อมเยาที่สุดอย่างคอนโดมิเนียมห้องเล็ก ๆ ก็ยังต้องเสียเงินหลักแสนบาท แต่ถ้าเราเตรียมตัวให้ดี การมีบ้านในครอบครองก็คงเป็นฝันที่ไม่ไกลเกินเอื้อม วันนี้ OCEAN LIFE ไทยสมุทร จะมาแนะนำสิ่งที่ต้องทำก่อนซื้อบ้าน ต้องเตรียมอะไรบ้าง ต้องใช้เงินเท่าไร แล้วประกันสินเชื่อบ้านจำเป็นแค่ไหน หาคำตอบได้ที่นี่เลย

ซื้อบ้าน ต้องเตรียมอะไรบ้าง

1. เตรียมเงินดาวน์ คำนวณเงินกู้

เงินดาวน์

การทราบจำนวนเงินวางดาวน์คร่าว ๆ จะทำให้เราวางแผนออมเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตามมาตรการ LTV ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กำหนดเงินวางดาวน์ขั้นต่ำโดยขึ้นอยู่กับราคาบ้านหรือที่อยู่อาศัยประเภทอื่น ๆ และจำนวนสัญญา โดยนับเฉพาะสัญญาที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระ และสัญญาที่กำลังจะยื่นเพื่อซื้อบ้านใหม่เท่านั้น ไม่นับรวมบ้านที่ผ่อนชำระครบแล้ว

อย่างไรก็ตาม ทางธนาคารแห่งประเทศไทยไม่บังคับใช้มาตรการ LTV กับผู้ที่ต้องการกู้เงินเพื่อการสร้างบ้านบนที่ดินของตัวเอง กล่าวคือสามารถขอกู้เงินได้สูงสุด 100 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าบ้านโดยไม่ต้องมีเงินดาวน์ก็ได้ สามารถดูเงินวางดาวน์ขั้นต่ำ ตามมาตราการ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ตามตารางด้านล่างนี้เลย

 

ราคาบ้านหรือที่อยู่อาศัยอื่น ๆ จำนวนสัญญา เงินวางดาวน์ขั้นต่ำ
ไม่เกิน 10 ล้านบาท สัญญากู้หลังที่ 1 ไม่จำเป็นต้องมีเงินวางดาวน์
สัญญากู้หลังที่ 2

- 10% หากผ่อนสัญญาแรกแล้ว 2 ปีขึ้นไป
- 20% หากผ่อนสัญญาแรกไม่ถึง 2 ปี

สัญญากู้หลังที่ 3 ขึ้นไป 30%
มากกว่า 10 ล้านบาท สัญญากู้หลังที่ 1 10%
สัญญากู้หลังที่ 2 20%
สัญญากู้หลังที่ 3 30%

(ข้อมูลจาก : ธนาคารแห่งประเทศไทย)

 

เงินกู้

ก่อนจะซื้อบ้านสักหลัง เราควรประเมินหาความสามารถในการกู้และความสามารถในการผ่อนชำระต่อเดือน โดยปัจจัยที่ต้องนำมาใช้ในการประเมิน ประกอบไปด้วย 

  • รายได้ต่อเดือน (ทั้งรายได้ที่มั่นคง หรือรายได้ประจำ เช่น เงินเดือน, รายได้ที่ไม่มั่นคง เช่น เงินปันผลจากกองทุนที่ได้ซื้อไว้ รวมไปถึงเงินโบนัสต่าง ๆ) 
  • ภาระหนี้ต่อเดือน (เช่น หนี้ผ่อนชำระรถยนต์ หนี้กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. เป็นต้น) จำนวนปีที่ต้องการกู้ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่อปี (%) 

จากนั้นสามารถเข้าไปคำนวณความสามารถในการกู้และการผ่อนชำระต่อเดือนในเว็บไซต์ของธนาคารต่าง ๆ เราจะทราบวงเงินสูงสุดที่เราจะสามารถกู้และผ่อนชำระต่อเดือนได้ ทำให้เราสามารถประเมินราคาของบ้านหรือที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับตนเองได้

คำนวณความสามารถในการกู้และการผ่อนชำระต่อเดือน คลิก

2. เตรียมประวัติทางการเงิน

หลาย ๆ คนอาจไม่รู้ตัวหรือหลงลืมว่ามีภาระหนี้สินอยู่ หนี้สินในชีวิตประจำวัน เช่น บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคลอื่น ๆ จะถูกธนาคารนำไปประกอบการพิจารณาในการอนุมัติสินเชื่อเพื่อกู้ซื้อที่อยู่อาศัย หากเป็นไปได้ ควรชำระหนี้ที่ยังค้างอยู่ให้ตรงเวลา ตรงตามกำหนดชำระ หรือชำระให้เสร็จสิ้นก่อนขอกู้ อย่างไรก็ตาม ประวัติการชำระหนี้ (เครดิตบูโร) จะคงค้างอยู่ในระบบ 3 ปี (36 เดือน) ดังนั้น จึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองให้ชำระหนี้ตรงเวลาตรงตามกำหนดชำระอยู่เสมอ

การพิจาณาอนุมัติสินเชื่อเพื่อกู้ซื้อที่อยู่อาศัยนั้น ธนาคารต่าง ๆ จะใช้องค์ประกอบหลายอย่าง ดังนั้น แม้ว่าเราอาจมีหนี้ค้างชำระอยู่บ้าง ก็ยังมีโอกาสได้รับการอนุมัติ แต่อาจไม่ได้รับอนุมัติวงเงินกู้ตามที่คาดหวัง

(ข้อมูลจาก : บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด)

หากต้องการตรวจประวัติการชำระหนี้ (เครดิตบูโร) คลิก

3. เตรียมเอกสาร

แต่ละธนาคารอาจขอเอกสารในการอนุมัติเงินกู้แตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่ใช้เอกสารดังต่อไปนี้

  • เอกสารแสดงตัวตน เช่น บัตรประชาชน, ทะเบียนบ้าน, ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล , หากสมรสแล้ว ต้องแสดงเอกสารที่เกี่ยวข้องด้วย คือ ทะเบียน  สมรส ไม่ว่าสถานะจะยังอยู่ด้วยกัน หรือแยกกันอยู่  หากหย่าแล้ว ต้องแสดง ใบหย่า เป็นต้น
  • เอกสารแสดงรายได้ เช่น หนังสือรับรองเงินเดือน, เอกสารรับเงินบำนาญ, หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ), รายการเดินบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน, รูปถ่ายกิจการ เป็นต้น
  • เอกสารแสดงหลักประกัน เช่น โฉนดที่ดิน, หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด เป็นต้น

ประกันสินเชื่อบ้าน จำเป็นแค่ไหน

แม้ว่ากฎหมายไม่ได้บังคับให้ผู้กู้ซื้อบ้านต้องทำประกันสินเชื่อบ้านก็ตาม แต่หากมีเรื่องไม่คาดฝันเกิดขึ้น อย่างการเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ทำให้ไม่สามารถประกอบหน้าที่การงานเพื่อมาผ่อนชำระต่อได้ จนอาจส่งผลให้ ผู้ที่อยู่อาศัยในขณะนั้น ซึ่งอาจเป็นสมาชิกในครอบครัวของผู้กู้ จำต้องย้ายออก การมีประกันสินเชื่อบ้านติดตัวไว้ ก็จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบา เพราะบริษัทที่รับประกันสินเชื่อบ้าน จะจ่ายผลประโยชน์กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต เท่ากับจำนวนเงินเอาประกันภัยของเดือนที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ให้แก่ผู้รับประโยชน์หลักซึ่งก็คือธนาคารที่ผู้กู้ได้ทำสินเชื่อไว้ แต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่ผู้เอาประกันภัยค้างชำระกับผู้รับประโยชน์หลักณ เวลาที่เสียชีวิต

กรณีผู้เอาประกันภัยทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จะจ่ายผลประโยชน์ไม่เกินจำนวนหนี้ที่ผู้เอาประกันภัยค้างชำระอยู่กับผู้รับประโยชน์หลักในขณะที่ผู้เอาประกันภัยทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง และหากมีจำนวนเงินเอาประกันภัยเหลืออยู่ จะจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัย

สำหรับใครที่กำลังหาอยู่ว่าควรทำประกันสินเชื่อบ้าน แบบไหนและที่ไหนดี Ocean Life ไทยสมุทร ขอแนะนำ

ประกันสินเชื่อบ้าน MRTA จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร 

ประกันคุ้มครองสินเชื่อเพื่อประชาชน สำหรับที่อยู่อาศัย

  • คุ้มครองทั้งกรณีเสียชีวิตและทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง 
  • เลือกระยะเวลาคุ้มครอง จะสั้น-ยาว ก็เลือกเองได้ 
  • ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับกรมธรรม์ที่มีระยะเวลาเอาประภัยตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป 
  • ทำง่าย ขอทำผ่านช่องทางออนไลน์ได้

สนใจทำประกัน ประกันคุ้มครองสินเชื่อเพื่อประชาชน สำหรับที่อยู่อาศัย คลิก

ข้อควรทราบ : 

  • การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด 
  • ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ 
  • ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันชีวิตหรือเบี้ยประกันสุขภาพ (ถ้ามี) ไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทนำส่งข้อมูลเบี้ยประกันภัยให้กรมสรรพากร 
  • การลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด 
  • ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์ประกันภัยแล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม
OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ เข้าถึงสิทธิประโยชน์ และกิจกรรมมากมาย
สะดวก รวดเร็ว พร้อม ช้อป ชิม ชิล ไปกับ OCHI COIN

QR Code Application
ดาวน์โหลดเลย
OCEAN CLUB APP

บอกข้อมูลสั้นๆ เกี่ยวกับตัวคุณ
เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม

ฉันต้องการค้นหาเกี่ยวกับ