การเลือก “จำนวนเงินเอาประกันภัย” หรือที่เรียกกันว่าทุนประกัน ถือเป็นหัวใจสำคัญของการวางแผนประกันชีวิต เพราะจำนวนเงินเอาประกันภัยที่เหมาะสมจะช่วยให้ผู้รับประโยชน์มีเงินเพียงพอต่อการดำรงชีวิต หรือช่วยให้ผู้เอาประกันภัยบรรลุเป้าหมายทางการเงินในอนาคต
บทความนี้จะพาไปดู 3 เทคนิคดี ๆ ในการคำนวณจำนวนเงินเอาประกันภัยให้เหมาะกับตัวเอง
แนวคิด Human Life Value Approach
จำนวนเงินเอาประกันภัย = เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต
Human Life Value Approach คือ แนวคิดในการคำนวณมูลค่าชีวิตของบุคคลโดยประเมินจากรายได้ในอนาคตที่ผู้เอาประกันภัยจะสามารถสร้างได้ และนำเงินจำนวนนี้มาเป็นแนวทางในการเลือกจำนวนเงินเอาประกันภัย โดยหลักการของ Human Life Value Approach คือ การเลือกจำนวนเงินเอาประกันภัยให้เทียบเท่ากับ “รายได้ในอนาคตที่หายไป” หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
แนวคิดนี้เหมาะกับ
✅ หัวหน้าครอบครัวหรือผู้หารายได้หลักของบ้าน ที่มีคนในครอบครัวพึ่งพารายได้ของตน
✅ ครอบครัวที่มีบุตรที่ยังเล็ก และต้องการวางแผนค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงระดับ สูงสุดที่กำหนดไว้
✅ คนมีภาระผ่อนบ้าน/รถ/หนี้สิน ที่ต้องการความมั่นใจว่าครอบครัวจะไม่ต้องรับภาระต่อหากเกิดเหตุ ไม่คาดคิด
แบบประกันที่เหมาะกับแนวคิด Human Life Value Approach
แนวคิดนี้ใช้ในการคำนวณหาจำนวนเงินเอาประกันภัยสำหรับแบบประกันได้ 2 ประเภทด้วยกันคือ ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ และประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา โดยแบบประกันที่เหมาะสมที่สุดคือ ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
- ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance)
เหมาะกับการวางแผนเพื่อทดแทนรายได้ที่ขาดหายไป แบบไม่ได้กำหนดช่วงระยะเวลาแน่นอน ไม่ว่าผู้เอาประกันภัยจะเสียชีวิตเมื่อใดก็ตามภายหลังระยะเวลารอคอยที่บริษัทกำหนด บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ในกรณีเสียชีวิตเป็นเงินก้อนให้กับผู้รับประโยชน์ ทำให้ผู้รับประโยชน์ที่เป็นครอบครัวของผู้เอาประกันภัย สามารถใช้ชีวิตต่อไปได้
สนใจทำประกันโอเชี่ยนไลฟ์ สมาร์ท โพรเทคชั่น 99/21
แนวคิด Need Approach
จำนวนเงินเอาประกันภัย = งบประมาณค่าใช้จ่ายที่จำเป็น
Need Approach คือการคำนวณจำนวนเงินเอาประกันภัยจาก “ความจำเป็นทางการเงิน” ที่ครอบครัวจะเผชิญหากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต โดยเน้นที่ค่าใช้จ่ายจริงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งแนวทางนี้ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการจัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายที่จำเป็น
แนวคิดนี้เหมาะกับ
✅ ผู้ที่มีภาระครอบครัว ไม่ว่าจะมีน้อยหรือมาก ก็สามารถใช้แนวคิดนี้คำนวณหาจำนวนเงินเอาประกันภัยได้
✅ ผู้ที่มีหนี้สินระยะยาว เช่น ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ
✅ ผู้ที่มีงบประมาณจำกัด ต้องการความคุ้มครองเท่าที่จำเป็นจริง ๆ
ปัจจัยที่ใช้ในการคำนวณจำนวนเงินเอาประกันภัยด้วยแนวคิด Need Approach เช่น
- ค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพ และค่าจัดการมรดกต่าง ๆ ถ้ามี
- หนี้สินที่ต้องชำระ
- ค่าใช้จ่ายในครอบครัว
- ค่าเล่าเรียนบุตร
- ค่าใช้จ่ายเพื่อคู่สมรสในช่วงวัยเกษียณ
- สินทรัพย์หรือเงินออมที่มีอยู่ ใช้หักลบเพื่อหาจำนวนเงินเอาประกันภัยที่จำเป็นจริง ๆ
แบบประกันที่เหมาะกับแนวคิด Need Approach
แนวคิดนี้มีความยืดหยุ่นสูง สามารถใช้คำนวณเพื่อหาจำนวนเงินเอาประกันภัยของแบบประกันได้มากกว่าแนวคิด Human Life Approach เช่น ประกันชีวิตแบบคุ้มครองตลอดชีพ ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ เป็นต้น แม้ว่าประกันชีวิตที่เหมาะสมที่สุดในการใช้แนวคิดนี้จะเป็นประกันคุ้มครองตลอดชีพ แต่หากผู้เอาประกันภัยมีเป้าหมายอื่น ๆ เช่น ต้องการเก็บออมเงินเพื่อเป็นค่าเล่าเรียนบุตร และนำเบี้ยประกันชีวิตไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก็สามารถใช้แนวคิดนี้ คำนวณหาจำนวนเงินเอาประกันภัยสำหรับประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ได้
สนใจทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์โอเชี่ยนไลฟ์ ซูเปอร์ รีเทิร์น 10/5
แนวคิด Capital Retention Approach
จำนวนเงินเอาประกันภัย = เงินต้นที่ใช้ในการลงทุนต่อ
Capital Retention Approach หรือ “แนวคิดการรักษาเงินต้น” เป็นวิธีคำนวณจำนวนเงินเอาประกันภัยที่มุ่งให้ผู้รับประโยชน์มีเงินใช้จ่ายในระยะยาวโดยไม่ต้องแตะเงินต้นที่ได้รับเป็น “เงินก้อน” ซึ่งมาจากผลประโยชน์กรณีเสียชีวิต เป้าหมายคือการสร้างรายได้ต่อเนื่องอันมาจากดอกผลของเงินก้อนที่ผู้เอาประกันภัยวางแผนไว้ให้
แนวคิดนี้เหมาะกับ
✅ผู้ที่ต้องการวางแผนการเงินในระยะยาวหรือตลอดชีวิตให้กับผู้รับประโยชน์ที่มักเป็นครอบครัว
✅ผู้ที่ต้องการรักษาเงินต้น เพื่อให้ลูกหลานหรือภรรยา/สามีมีรายได้แบบต่อเนื่องไม่ขาดตอน หรืออาจกังวลว่าครอบครัวจะใช้เงินก้อนจากประกันชีวิตหมดเร็ว จึงอยากวางแผนให้ใช้เฉพาะดอกผลของเงินก้อนนั้น
หลักการของแนวคิด Capital Retention Approach
- เมื่อตัวผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ครอบครัวจะได้รับเงินผลประโยชน์ในกรณีเสียชีวิตเป็นก้อนหนึ่ง
- ผู้รับประโยชน์ หรือครอบครัวของผู้เอาประกันภัย สามารถเลือกเก็บเงินก้อนนี้ไว้ และนำไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอได้
- ครอบครัวจะใช้เฉพาะ ผลตอบแทนจากการลงทุน (เช่น ดอกเบี้ยหรือปันผล) สำหรับการดำรงชีพ
- เงินต้นยังคงอยู่ ไม่หมดไปในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ทำให้ไม่ต้องกังวลว่าครอบครัวจะลำบากในอนาคต
แบบประกันที่เหมาะกับแนวคิด Capital Retention Approach
แนวคิดนี้ใช้ในการคำนวณหาจำนวนเงินเอาประกันภัยสำหรับแบบประกันได้ 2 ประเภทด้วยกันคือ ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ และประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา โดยแบบประกันที่เหมาะสมที่สุดคือ ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
- ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance)
เหมาะแก่การใช้เป็นเงินลงทุน เนื่องจากจ่ายผลประโยชน์ในกรณีเสียชีวิตเป็นเงินก้อนในจำนวนค่อนข้างมากให้แก่ผู้รับประโยชน์ ทำให้นำไปลงทุนต่อยอดเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละปีได้ จากตัวอย่างข้างต้น หากผู้เอาประกันภัยเลือกทำประกันชีวิตแบบตลอดชีพ โอเชี่ยนไลฟ์ สมาร์ท โพรเทคชั่น 99/21 ที่มีความคุ้มครองชีวิต 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
สนใจทำประกันโอเชี่ยนไลฟ์ สมาร์ท โพรเทคชั่น 99/21
ข้อควรทราบ :
- % หมายถึง เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
- การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
- ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
- เบี้ยประกันชีวิตสามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
- ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันชีวิต ไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทฯ นำส่งข้อมูลเบี้ยประกันชีวิตให้กรมสรรพากร
- ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม
อ้างอิง :
https://www.posttoday.com/business/136189
https://www.tfpa.or.th/9e6417ebffecef071/resources4_3_3_08.html
https://www.investopedia.com/terms/h/humanlifeapproach.asp
https://www.pier.or.th/abridged/2021/01/