ในยุคที่หลายคนต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ หรือยืนนาน ๆ จนหลังตึง ปวดเอวไม่หาย อาการเหล่านี้อาจดูเล็กน้อยในตอนแรก แต่บางครั้งก็เป็นสัญญาณของ “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตอย่างรุนแรง หลายคนไม่รู้ว่าอาการนี้อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด และแม้จะเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็กอย่างการ “ผ่าตัดส่องกล้อง” แต่ค่ารักษากลับไม่เล็กอย่างที่คิด หากไม่มีประกันสุขภาพไว้ล่วงหน้า ค่าใช้จ่ายอาจกระทบเงินออมได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
อาการของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเกิดขึ้นเมื่อหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือเสื่อมสภาพ จนไปกดทับเส้นประสาทบริเวณกระดูกสันหลัง โดยเฉพาะในส่วนเอวหรือคอ อาการที่พบบ่อย ได้แก่
- ปวดคอหรือหลังเรื้อรัง
- ชาหรือปวดร้าวลงขา (กรณีทับเส้นประสาทบริเวณเอว) โดยอาจปวดจากสะโพก ร้าวลงบริเวณด้านหลังของต้นขา (hamstrings) น่อง หรืออาจปวดไปถึงข้อเท้าหรือปลายเท้าเลยก็ได้
- ชาหรือปวดร้าวลงแขน (กรณีทับเส้นประสาทบริเวณคอ) โดยอาจปวดตั้งแต่สะบัก ร้าวไปหัวไหล่และแขน
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
สาเหตุของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
- สาเหตุหลักของโรคนี้มีหลายปัจจัย เช่น
- อายุที่มากขึ้น ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมตามธรรมชาติ
- ขาดการจัดระเบียบท่าทางในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น พนักงานออฟฟิศที่นั่งทำงานนาน ๆ โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ การขับรถทางไกลเป็นเวลานาน ๆ และเป็นประจำ การนอนคว่ำเพื่ออ่านหนังสือหรือเล่นโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
- การยกของหนัก
- ภาวะน้ำหนักเกิน โดยเฉพาะผู้ที่อ้วนลงพุง จะทำให้หลังต้องรับน้ำหนักที่มากจนหลังแอ่น
- การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือการเล่นกีฬา
- การสูบบุหรี่จัด เนื่องจากควันสูบบุหรี่จะทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงหมอนรองกระดูกหรือกระดูกสันหลังได้ไม่ดี
- การแต่งกาย เช่น สะพายกระเป๋าหนักเพียงข้างเดียว ใส่รองเท้าส้นสูง เป็นต้น
- การขาดการออกกำลังกาย ทำให้กล้ามเนื้อลีบ ฝ่อ มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บต่อหมอนรองกระดูกได้มากขึ้น
พฤติกรรมในชีวิตประจำวันเหล่านี้สะสมไปเรื่อย ๆ จนอาจนำไปสู่โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ที่ต้องรักษาด้วยวิธีการเฉพาะทางได้
วิธีการรักษา: แผลเล็ก หายไว แต่ราคาสูง
สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงและไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา การผ่าตัดเป็นทางเลือกที่จำเป็น โดยปัจจุบันมีเทคโนโลยีการผ่าตัดผ่านกล้อง (Endoscopic Spine Surgery) ซึ่งเป็นการผ่าตัดแผลเล็ก ขนาดประมาณ 1 ซม. ใช้กล้องและเครื่องมือเฉพาะเจาะจงเข้าไปในตำแหน่งที่หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทโดยตรง
ข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้อง คือ
- แผลเล็ก ฟื้นตัวไว
- พักฟื้นในโรงพยาบาลเพียง 1-2 วัน
- ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
แต่ค่ารักษาพยาบาลก็ไม่น้อย ตัวอย่างเช่น ตามข้อมูลจาก MedPark Hospital ค่าผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้อง เริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 290,000 บาท ต่อครั้ง ซึ่งถือว่าสูงมาก
ประกันที่ควรมีก่อนเป็นโรค: ประกันสุขภาพ โอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นจอย เฮลท์ เอ็กซ์ตร้า
หนึ่งในประกันสุขภาพที่น่าสนใจ คือ โอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นจอย เฮลท์ เอ็กซ์ตร้า จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิต คลิก
เป็นประกันสุขภาพที่ออกแบบมาเพื่อคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน (IPD) สำหรับกรณีต้องรักษาทั้งจากการเจ็บป่วย และอุบัติเหตุ รวมถึงโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งจะให้ความคุ้มครองเมื่อพ้นระยะ Waiting Period ไปแล้ว ดังนี้
- กรณีต้องรักษาด้วยหัตถการ หรือการผ่าตัดต่าง ๆ ต้องนอนโรงพยาบาลจะให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแบบเหมาจ่ายตามจริง โดยพิจารณาตามความจำเป็นและมาตรฐานทางการแพทย์ เช่น แพทย์เจ้าของไข้เป็นผู้วินิจฉัยว่าจำเป็นต้องรักษาด้วยเทคโนโลยีการผ่าตัดผ่านกล้อง เป็นต้น
- ให้ความคุ้มครองครอบคลุมค่าห้องพักเดี่ยวมาตรฐาน เมื่อต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล
สิ่งสำคัญคือ ต้องทำประกันก่อนจะตรวจพบโรคหรือเริ่มมีอาการ เพราะบริษัทประกันจะไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อนการทำประกัน (Pre-existing condition)
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทอาจเริ่มต้นจากอาการปวดหลังเล็ก ๆ แต่จบลงด้วยการผ่าตัดราคาแพง การมีประกันสุขภาพที่คุ้มครองค่าผ่าตัดและหัตถการทางการแพทย์จึงเป็นการลงทุนเพื่อความมั่นคงทางการเงินและสุขภาพในระยะยาว เพราะแม้แผลจะเล็ก แต่ค่ารักษาอาจไม่เล็กอย่างที่คิด การเตรียมตัวเอาไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ย่อมช่วยลดความกังวลใจไปได้เยอะ
ข้อควรทราบ :
- โอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นจอย เฮลท์ เอ็กซ์ตร้า เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพเอ็นจอย เฮลท์ เอ็กซ์ตร้า (Enjoy Health Extra)
- ห้องพักเดี่ยวมาตรฐาน หมายถึง ห้องพักเดี่ยวราคาเริ่มต้นของโรงพยาบาล
- การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
- ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
- สัญญาเพิ่มเติม/บันทึกสลักหลังมีระยะเวลาเอาประกันภัย 1 ปี ผู้เอาประกันภัยอาจขอต่ออายุสัญญาเพิ่มเติม/บันทึกสลักหลังได้ ภายใต้เงื่อนไขสัญญาเพิ่มเติม ทั้งนี้ สำหรับปีต่ออายุ อาจมีการเปลี่ยนแปลงเบี้ยประกันภัย หรือให้ผู้เอาประกันภัยมีค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) ขึ้นอยู่กับอายุ ชั้นอาชีพ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น หรือจากประสบการณ์การจ่ายค่าสินไหมทดแทน ตามเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ของบริษัท
- ค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หมายถึง ความรับผิดระหว่างบริษัทประกันภัยและผู้เอาประกันภัยที่ต้องร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล อันจะพึงจ่ายตามจำนวนเงินผลประโยชน์ภายหลังหักจำนวนความรับผิดส่วนแรก (ถ้ามี)
- ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม
อ้างอิง :
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/herniated-disc
https://www.medparkhospital.com/packages/endoscopic-spine-surgery-packages
https://www.phyathai.com