Is an annuity beneficial when there are existing senior citizen benefits?

ประกันหลังเกษียณ

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุ (Aging Society) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2548 โดยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปถึงร้อยละ 10.4 ของประชากรทั้งหมด เพียงแค่ 16 ปีต่อมา ประเทศไทยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงเกินร้อยละ 20 ทำให้ในปัจจุบันเราทุกคนต่างอยู่ในสังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ ดังนั้น การเรียนรู้เรื่องสวัสดิการผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน โดยเฉพาะคนที่ยังไม่เกษียณอายุ เพราะมีประโยชน์ต่อการวางแผนรายได้เมื่อแก่ตัวลง ซึ่งหากไม่เพียงพอ อาจต้องพิจารณาทำประกันเกษียณ หรือที่เรียกว่าประกันบำนาญควบคู่ไปด้วย

 

สวัสดิการผู้สูงอายุ คุ้มครองอะไรบ้าง

สิทธิและสวัสดิการผู้สูงอายุคุ้มครองหลายด้านด้วยกัน โดยแบ่งออกเป็น 16 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

  1. เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ / บำเหน็จบำนาญตามสิทธิประกันสังคม / บำเหน็จบำนาญตามสิทธิข้าราชการ
  2. ลดราคาค่าโดยสารขนส่งมวลชนบางชนิด
  3. ลดหย่อนภาษีให้แก่บุตรได้
  4. กู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพแบบปลอดดอกเบี้ย จำนวนไม่เกิน 30,000 บาท จากกองทุนผู้สูงอายุ
  5. ขอปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมและปลอดภัย กับกรมกิจการผู้สูงอายุ
  6. บริการให้คำปรึกษา แนะนำ และรับสมัครงานสำหรับผู้สูงอายุ โดยกรมการจัดหางาน
  7. สิทธิเข้าถึง สิ่งอำนวยความสะดวก ในพื้นที่สาธารณะหลายแห่ง
  8. สิทธิการศึกษา เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  9. สิทธิการแพทย์
  10. สิทธิการช่วยเหลือทางกฎหมาย 
  11. ยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ของรัฐ
  12. เปิดให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น สถานกีฬาลดค่าสมัครสมาชิก 50 เปอร์เซ็นต์
  13. การสงเคราะห์ช่วยเหลือ เมื่อถูกทารุณกรรม ถูกทอดทิ้ง ถูกหาประโยชน์
  14. การจัดบริการสถานที่ท่องเที่ยว
  15. สิทธิในการเข้ามีส่วนร่วมกิจกรรมในสังคม
  16. เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต สำหรับผู้สูงอายุอยู่ในครอบครัวที่ยากจน จำนวนรายละ 2,000 บาท จากกรมพัฒนาชุมชน

ในส่วนของสวัสดิการผู้สูงอายุประเภทเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ บำเหน็จบำนาญตามสิทธิประกันสังคม และบำเหน็จบำนาญตามสิทธิข้าราชการ มีรายละเอียดดังนี้

 

1. เบี้ยยังชีพ

ผู้สูงอายุที่มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพ คือ ผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป สัญชาติไทย ซึ่งรวมไปผู้สูงอายุที่มีสิทธิรับเงินชราภาพประกันสังคมด้วย ส่วนผู้สูงอายุที่มีสิทธิข้าราชการ จะไม่สามารถใช้สิทธิรับเบี้ยยังชีพได้ เพราะได้รับเงินบำเหน็จ-บำนาญอยู่แล้ว 

สวัสดิการผู้สูงอายุแบบเบี้ยยังชีพนี้ จะจ่ายเบี้ยให้ผู้สูงอายุแบบขั้นบันไดตามอายุที่มากขึ้น

  • อายุ 60-69 ปี ได้รับ 600 บาท/เดือน
  • อายุ 70-79 ปี ได้รับ 700 บาท/เดือน
  • อายุ 80-89 ปี ได้รับ 800 บาท/เดือน
  • อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับ 1,000 บาท/เดือน

 

2. บำเหน็จบำนาญตามสิทธิประกันสังคม

สวัสดิการผู้สูงอายุประเภทนี้ สำหรับผู้ที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือ 39 สามารถขอรับได้เมื่ออายุ 55 ปีขึ้นไป และต้องสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนแล้ว แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

2.1 บำนาญชราภาพ

ในกรณีที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน โดยไม่จำเป็นต้องติดต่อกัน ให้มีสิทธิได้รับเงินบํานาญชราภาพตั้งแต่เดือนถัดจากเดือนที่อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ คิดเป็นอัตราร้อยละ 20 ของเงินค่าจ้าง (ไม่เกิน 15,000 บาท) เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง และหากจ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน จะเพิ่มอัตราการจ่ายเงินบำนาญให้อีก ร้อยละ 1.5 ของระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก ๆ 12 เดือน

เว้นแต่เมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์และความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ยังไม่สิ้นสุดลงตามมาตรา 38 (ตาย/สิ้นสภาพความเป็นลูกจ้าง) หรือความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39  ยังไม่สิ้นสุดลงตามมาตรา 41 (ตาย/ได้เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 อีกครั้ง/ลาออกจากความเป็นผู้ประกันตนโดยการแสดงความจํานงต่อสํานักงาน/ไม่ส่งสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน/ภายในระยะเวลาสิบสองเดือนส่งเงินสมทบมาแล้วไม่ครบเก้าเดือน) ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับตั้งแต่เดือนถัดจากเดือนที่ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

2.2 บำเหน็จชราภาพ

สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ 39 ที่จ่ายเงินสมทบไม่ครบหนึ่งร้อยแปดสิบเดือน เมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตามมาตรา 38 หรือมาตรา 41 ดังที่กล่าวไปข้างต้น ให้มีสิทธิได้รับเงินบําเหน็จชราภาพ กรณีจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน รับเท่ากับจำนวเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตน กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือน ขึ้นไป รับเท่ากับจำนวเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตนและที่นายจ้างสมทบพร้อมผลตอบแทน

สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ที่เลือกจ่ายเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน เงินที่จ่ายจะสะสมเป็นเงินบำเหน็จชราภาพ เดือนละ 50 บาท หรือกรณีเลือกจ่ายเงินสมทบ 300 บาทต่อเดือน เงินที่จ่ายจะสะสมเป็นเงินบำเหน็จชราภาพ เดือนละ 150 บาท

 

3. บำเหน็จบำนาญตามสิทธิข้าราชการ

โดยในบทความนี้จะกล่าวถึงบำเหน็จบำนาญแบบปกติเท่านั้น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

3.1 ข้าราชการตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 

สำหรับข้าราชการที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ ด้วยเหตุ 4 เหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่

  • เหตุทดแทน ให้แก่ข้าราชการที่ออกจากราชการ เพราะเลิกหรือยุบตำแหน่ง
  • เหตุทุพพลภาพ  
  • เหตสูงอายุ ให้แก่ข้าราชการที่มีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ หรือข้าราชการที่มีอายุครบ 50 ปีบริบูรณ์ ที่ประสงค์จะลาออก และได้รับอนุญาตแล้ว
  • เหตุรับราชการนาน ให้แก่ข้าราชการซึ่งมีเวลาราชการสําหรับคํานวณบําเหน็จบํานาญครบสามสิบปีบริบูรณ์ หรือ ข้าราชการที่มีเวลาราชการสําหรับคํานวณบําเหน็จบํานาญครบยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ประสงค์จะลาออก และได้รับอนุญาตแล้ว

3.2 ข้าราชการตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539

สำหรับข้าราชการที่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญตามเงื่อนไข ดังนี้  

  • มาตรา 47 สมาชิกซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ 10 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 25 ปีบริบูรณ์ ให้มีสิทธิได้รับบําเหน็จ โดยให้คํานวณจากอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการ
  • มาตรา 48 สมาชิกซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ 25 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ให้มีสิทธิได้รับบํานาญ โดยให้คํานวณจากอัตราเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการ หารด้วย 50 แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 70 ของอัตราเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย เว้นแต่จะเลือกรับบําเหน็จแทน
  • มาตรา 49 นอกจากกรณีที่กําหนดไวในมาตรา 47 และมาตรา 48 แล้ว สมาชิกมีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ เหตุทดแทน เหตุทุพพลภาพ และเหตุสูงอายุ คล้ายกับกรณี ไม่ได้เป็นสมาชิก กบข. ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดของแต่ละเหตุ ได้ในหัวข้อ 3.1

 

ประกันหลังเกษียณ หรือประกันบำนาญ คุ้มครองอะไรบ้าง

  • คุ้มครองด้านการเงิน โดยมีเงินบำนาญ ซึ่งอาจแตกต่างกันตามประกันบำนาญแต่ละแบบ
  • คุ้มครองกรณีเสียชีวิต โดยมีการจ่ายผลประโยชน์ให้กับผู้เอาประกันภัย ต่างกันไปตามตามประกันบำนาญแต่ละแบบ และช่วงเวลาที่เสียชีวิต

ตัวอย่างผลประโยชน์ความคุ้มครองของของประกันเกษียณ 3 แบบจาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร กรณีเลือกรับเงินบำนาญรายปี

แบบประกันเกษียณ
(ประกันบำนาญ)
ตัวอย่างผลประโยชน์ความคุ้มครอง
เงินบำนาญรายปี ช่วงก่อนรับเงินบำนาญ ช่วงรับรองเงินบำนาญ
กรณีเสียชีวิต ก่อนรับ
เงินบำนาญครบ 15 ปี
เซฟเกษียณ มีบำนาญ 90/55
(บำนาญแบบลดหย่อนภาษีได้)
15% อายุ 55-85 ปี
18% อายุ 86-90 ปี
(% ของจำนวนเงิน
เอาประกันภัย)
ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต 105%
ของเบี้ยประกันภัยที่ชำระแล้ว
หรือค่าเวนคืนกรมธรรม์
(แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า)
มูลค่าปัจจุบัน
ของจำนวนเงินบำนาญ
ที่ยังไม่ได้จ่ายจนครบ 15 ปี
รีไทร์ เรดดี้ 85/55
(บำนาญแบบลดหย่อนภาษีได้)
15% อายุ 55-85 ปี
(% ของจำนวนเงิน
เอาประกันภัย)
ไทยสมุทรบำนาญ 85/55
(บำนาญแบบลดหย่อนภาษีได้)
10% อายุ 55-85 ปี
(% ของจำนวนเงิน
เอาประกันภัย)
ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต
100% อายุ 25-ก่อนครบ 40 ปี
120% อายุ 40-ก่อนครบ 43 ปี
140% อายุ 43-ก่อนครบ 46 ปี
160% อายุ 46-ก่อนครบ 49 ปี
180% อายุ 49-ก่อนครบ 52 ปี
200% อายุ 52-ก่อนครบ 55 ปี
% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
หรือค่าเวนคืนกรมธรรม์
หรือเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาแล้ว
(แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า)

 

มีสวัสดิการผู้สูงอายุแล้ว ควรทำประกันเกษียณ (ประกันบำนาญ) หรือไม่

จากรายละเอียดด้านสวัสดิการผู้สูงอายุทั้งหมด จะเห็นได้ว่า ผู้ที่ได้รับเบี้ยยังชีพ และผู้ที่ได้รับบำเหน็จบำนาญตามสิทธิประกันสังคมนั้น จะมีรายรับจากสวัสดิการทั้ง 2 ประเภทในจำนวนที่น้อยมากคือไม่ถึง 10,000 บาทต่อเดือน ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบัน ดังนั้น ประกันเกษียณจึงถือเป็นทางเลือกที่ดีที่จะช่วยให้ทั้ง 2 กลุ่มนี้มีรายได้มากขึ้น โดยหากต้องการเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ก็สามารถเลือกทำประกันแบบจ่ายบำนาญรายเดือนได้ แต่ถ้าต้องการเป็นเงินก้อน ก็สามารถเลือกทำประกันแบบจ่ายบำนาญรายปีก็ได้เช่นกัน

ส่วนผู้ที่ได้รับบำเหน็จบำนาญข้าราชการนั้น อาจมีรายรับเพียงพอต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันแล้ว จึงอาจเลือกไม่ทำประกันเกษียณก็ได้ แต่หากต้องการเพิ่มความมั่นคงให้ชีวิต ก็สามารถเลือกทำประกันเกษียณแบบจ่ายบำนาญรายปีได้เช่นกัน

 

 

สนใจทำประกันเกษียณ (ประกันบำนาญ) คลิก

 

 

ข้อควรทราบ : 

  • การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
  • เบี้ยประกันชีวิตสามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด 
  • ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันชีวิตไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทฯ นำส่งข้อมูลเบี้ยประกันชีวิตให้กรมสรรพากร
  • การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัย การที่ตัวแทนประกันชีวิตมาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น
  • ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
  • ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม

อ้างอิง : 

กรมสุขภาพจิต
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
มาตรา 73(2) แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 
มาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทนตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน พ.ศ.2561
Facebook สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494
พระราชบัญญัติ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539

OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ เข้าถึงสิทธิประโยชน์ และกิจกรรมมากมาย
สะดวก รวดเร็ว พร้อม ช้อป ชิม ชิล ไปกับ OCHI COIN

QR Code Application
ดาวน์โหลดเลย
OCEAN CLUB APP

บอกข้อมูลสั้นๆ เกี่ยวกับตัวคุณ
เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม

วันหยุดวันฉัตรมงคล 4-6 พฤษภาคม 2567
I want to search about