มีสิทธิเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิตสำหรับผู้สูงอายุแล้ว ควรทำประกันสูงวัยไหม

 

หนึ่งในสิ่งที่คนวัย 50 ขึ้นไป กลัวมากที่สุด คือการจากไปโดยไม่ได้ทิ้งมรดกไว้ให้กับครอบครัวและลูกหลาน และอาจกังวลเรื่องค่าทำศพ ที่อาจเป็นภาระของครอบครัวภายหลัง บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต สำหรับผู้สูงอายุ ติดตามอ่านกันได้เลย

 

เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต สำหรับผู้สูงอายุ โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ

จะสนับสนุนการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี หรือที่เรียกว่าเงินค่าทำศพ โดยการช่วยเหลือเป็นเงินในการจัดการศพ จำนวน 3,000 บาท โดยผู้เสียชีวิตที่เป็นผู้สูงอายุต้องมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีสัญชาติไทย มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เว้นแต่ผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่ยังไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือยังไม่ได้ลงทะเบียน ให้ผู้อํานวยการเขต หรือนายอำเภอ หรือกํานัน หรือผู้ใหญ่บ้าน หรือนายกเทศมนตรี หรือนายกองค์การบริหารส่วนตําบล หรือประธานชุมชน เป็นผู้รับรอง รวมถึงผู้สูงอายุซึ่งอยู่ในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ สถานสงเคราะห์ สถานดูแล สถานคุ้มครอง หรือสถานใด ๆ ของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดำเนินการจัดการศพตามประเพณี โดยมูลนิธิ สมาคม วัด มัสยิด โบสถ์

นอกจากเงินสนับสนุนการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณีโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์แล้ว ผู้สูงอายุที่เป็นผู้ประกันตามมาตรา 33, 39 และ 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม จะได้รับเงินตามสิทธิกรณีเสียชีวิตด้วย โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เงินค่าทำศพ และเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต

 

สิทธิกรณีเสียชีวิต สำหรับผู้สูงอายุที่ยังเป็นผู้ประกันตนแห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม

ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39

แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • เงินค่าทำศพ โดยภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนผู้ประกันตนเสียชีวิต ได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วอย่างน้อย 1 เดือน จะได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท
  • เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต โดยผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 36 เดือนแต่ไม่ถึง 120 เดือนก่อนเสียชีวิต จะได้เงินสงเคราะห์ร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 4 เดือน ส่วนผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 120 เดือนขึ้นไป จะได้เงินสงเคราะห์ร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือน

หมายเหตุ : 

มาตรา 33 จะกำหนดอายุของผู้ประกันตนไว้ไม่เกิน 60 ปี แต่หากผู้สูงอายุที่มีอายุครบ 60 ปี ยังประสงค์จะทำงานต่อ โดยมีการจ้างงานต่อเนื่องจากบริษัทเดิม จะยังถือว่าผู้สูงอายุดังกล่าวเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และได้สิทธิทุกประการรวมถึงสิทธิเงินค่าทำศพและเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต เช่นเดียวกับผู้ประกันตนรายอื่น

มาตรา 39 ไม่ได้มีการจำกัดอายุของผู้ประกันตน ผู้สูงอายุทุกคนที่ยังเป็นผู้ประกันตนมาตรานี้อยู่แม้จะอายุเกิน 60 ปีแล้ว จะได้สิทธิเงินค่าทำศพและเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิตดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น แต่ต้องจ่ายเงินสมทบตามระยะเวลาที่ถูกกำหนดไว้ด้วย

ผู้ประกันตนตามมาตรา 40

แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • เงินค่าทำศพ  โดย ภายในระยะเวลา 12 เดือน ก่อนเดือนที่ผู้ประกันตนเสียชีวิต ได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน เว้นแต่ กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ  ภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนเดือนที่ผู้ประกันตนเสียชีวิต ได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วอย่างน้อย 1 เดือน จะได้รับค่าทำศพตามการจ่ายเงินสมทบ ดังตารางด้านล่างนี้
ทางเลือกที่ จำนวนเงินที่จ่ายสมทบ
(บาท/เดือน)
ค่าทำศพ
1 70 25,000 บาท
2 100
3 300 30,000 บาท
  • เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต สำหรับทางเลือกที่ 1 และ 2 ผู้ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 60 เดือนก่อนเดือนที่เสียชีวิต จะได้รับเงินสงเคราะห์ 8,000 บาท

หมายเหตุ :

มาตรา 40 จะกำหนดอายุของผู้ประกันตนไว้ไม่เกิน 65 ปี

 

ประกันสูงวัย

จริง ๆ แล้วประกันสูงวัยมีชื่อเรียกที่หลากหลาย บางคนเรียกว่าประกันผู้สูงอายุ ประกันชีวิตผู้สูงอายุ หรือประกันอาวุโส ทั้งหมดหมายถึง การคุ้มครองการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุและโรคภัยไข้เจ็บให้กับบุคคลที่มีอายุระหว่าง 50 ปีขึ้นไป จนไปถึง อายุ 70 ปี เป็นประกันที่ไม่ต้องตรวจสุขภาพ และ ไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ

เงื่อนไขการคุ้มครองกรณีเสียชีวิตของประกันสูงวัยแต่ละผลิตภัณฑ์อาจแตกต่างกัน ตัวอย่างรายละเอียดการคุ้มครองกรณีเสียชีวิตสำหรับประกันโอเชี่ยนไลฟ์ สมาร์ท ซีเนียร์ 90/90 (เพื่อผู้สูงอายุ) จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร เช่น

  • การเสียชีวิตทุกกรณีระหว่างปีกรมธรรม์ที่ 1 และ 2 บริษัทจะจ่ายเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาแล้วคืน พร้อมเงินเพิ่ม 2% ของเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาแล้ว
  • ถ้าเสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุระหว่างปีกรมธรรม์ที่ 1 และ 2 และมีผลโดยตรงทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตทันที หรือภายใน 180 วันนับแต่วันที่เกิดอุบัติเหตุ บริษัทจะจ่ายเงินเบี้ยประกันที่ชำระมาแล้วคืน พร้อมเงินเพิ่มเติมอีกเป็นจำนวนเท่ากับจำนวนเงินเอาประกันภัย 
  • ถ้าเสียชีวิตตั้งแต่ปีกรมธรรม์ที่ 3-6 บริษัทประกันจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยเต็มจำนวนในทุกกรณี

ข้อควรทราบ :

  • การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด
  • ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
  • ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์ประกันภัยแล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม

 

มีสิทธิเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิตสำหรับผู้สูงอายุอยู่แล้ว ควรทำประกันสูงวัยหรือไม่

จะเห็นได้ว่า เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต ที่สนับสนุนการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี สำหรับผู้สูงอายุ ตามเกณฑ์กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นั้นมีจำนวนที่ไม่มากนัก จึงอาจไม่เพียงพอสำหรับการทำศพและเป็นมรดกให้ลูกหลาน อีกทั้งจะจ่ายให้เฉพาะผู้สูงอายุที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐซึ่งเงื่อนไขในการสมัครค่อนข้างยุ่งยาก โดยมีการตรวจสอบกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ วงเงินกู้ และอื่น ๆ อีกมากมาย

ส่วนเงินค่าทำศพและเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิตตามสิทธิประกันสังคมนั้น มีจำนวนที่พอประมาณ แต่ไม่ใช่ผู้สูงอายุทุกคนจะได้สิทธินี้ เพราะมาตรา 33, 39 และ 40 ได้กำหนดเงื่อนไขไว้ค่อนข้างมาก ดังนั้น การทำประกันผู้สูงวัยไว้ จะเพิ่มเติมสิทธิที่ผู้สูงอายุจะได้รับตามที่กล่าวมาข้างต้นได้ เพียงเลือกเบี้ยประกันภัยและจำนวนเอาประกันให้เหมาะสม ไม่เป็นภาระทั้งต่อตัวเอง และลูกหลาน ก็จะช่วยลดความกังวลของผู้สูงอายุในอนาคตได้

 

 

ประกันสูงวัยจาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร
ประกันโอเชี่ยนไลฟ์ สมาร์ท ซีเนียร์ 90/90 (เพื่อผู้สูงอายุ)

ขอทำประกันง่าย ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ คลิก

 

อ้างอิง :

ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง การสนับสนุนการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี

กฎกระทรวง กำหนดอัตราเงินค่าทำศพในกรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายโดยมิใช่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน พ.ศ.2563 

มาตรา 73(2) แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 

มาตรา 14 แห่งพระราชกฤษฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทนตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน พ.ศ.2561

มาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทนตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน พ.ศ.2561

มาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทนตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน พ.ศ.2561

มาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทนตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน พ.ศ.2561

พระราชกฤษฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทนตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2564

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

สิทธิพิเศษที่เกี่ยวข้อง

OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ เข้าถึงสิทธิประโยชน์ และกิจกรรมมากมาย
สะดวก รวดเร็ว พร้อม ช้อป ชิม ชิล ไปกับ OCHI COIN

QR Code Application
ดาวน์โหลดเลย
OCEAN CLUB APP

บอกข้อมูลสั้นๆ เกี่ยวกับตัวคุณ
เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม

ฉันต้องการค้นหาเกี่ยวกับ