3 สูตรบริหารเงิน ไลฟ์สไตล์ไหนก็เลือกได้

สูตรบริหารเงิน
 

เชื่อว่าทุกคนที่เริ่มทำงานจนมีรายได้เป็นของตัวเองแล้ว ต้องเคยเห็นคำแนะนำให้เก็บออมเงิน 10-20% ของรายได้ ถึงแม้จะเป็นคำแนะนำที่ดีและใช้ได้จริงอยู่เสมอ แต่ต่างคนย่อมมีเป้าหมายในชีวิตที่ต่างกัน ดังนั้น OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิต จึงชวนทุกคนมารู้จักสูตรบริหารเงิน 3 แบบ ที่อาจเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง และได้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง

 

แบบที่ 1 : 50/30/20 สูตรบริหารเงินสำหรับมนุษย์เงินเดือน

จริง ๆ แล้วสูตรบริหารเงิน 50/30/20 เป็นสูตรพื้นฐานที่สามารถใช้กับการวางแผนการเงินได้ทุกประเภท เช่น การท่องเที่ยว การซื้ออสังหาริมทรัพย์ และการซื้อรถยนต์ เป็นต้น แต่ OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิต ขอแนะนำสูตรนี้ให้กับมนุษย์เงินเดือนทุกคน เพราะเป็นวัยที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หรือค่าใช้จ่ายทางสังคมก็ตาม

สูตรบริหารเงิน 50/30/20 แบ่งรายได้หลังจากหักภาษีออกแล้ว ดังนี้
 

  • 50% สำหรับค่าใช้จ่ายจำเป็น (Needs) 

ได้แก่ ค่าอาหาร ยารักษาโรค และข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป-กลับระหว่างที่อยู่อาศัยและที่ทำงาน ค่าเช่าหรือค่างวดผ่อนชำระที่อยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับรถยนต์ (ในกรณีที่ใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทางไปทำงาน)

หากลองคำนวณแล้วพบว่าค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เกิน 50% ของรายได้ อาจพิจารณาตัดบางรายการออก เช่น ค่าอาหาร จากปกติรับประทานที่ห้างสรรพสินค้าทุกวัน อาจเปลี่ยนเป็นการทำเองในบางมื้อ แล้วยกยอดค่าอาหารที่ห้างสรรพสินค้าบางส่วน ไปอยู่ในค่าใช้จ่ายกลุ่มถัดไป
 

  • 30% สำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต (Wants) 

เช่น ค่าใช้จ่ายในการสังสรรค์ ค่าเครื่องสำอาง ค่าเดินทางท่องเที่ยว ค่าสมาชิกแพลตฟอร์มเพื่อความบันเทิงอย่าง YouTube และ Netflix ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับรถยนต์ (ในกรณีที่ใช้รถยนต์เฉพาะวันหยุดเป็นหลัก) ค่ากาแฟ ค่าสมาชิกฟิตเนส เป็นต้น ด้วยความที่สัดส่วนนี้สูงถึง 30% จึงเหมาะกับวัยทำงานที่อาจต้องให้ความสำคัญกับสถานะทางสังคม และอาจต้องใช้จ่ายเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ เช่น อาชีพเซลล์ที่ต้องพบลูกค้าเป็นประจำ จึงจำเป็นต้องมีรถยนต์, อาชีพนักการตลาด ที่ต้องสวมใส่เสื้อผ้าตัดเย็บดี เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือในสายตาลูกค้า เป็นต้น

หากลองคำนวณแล้วพบว่าค่าใช้จ่ายส่วนนี้เกิน 30% ของรายได้ ให้ตัดค่าใช้จ่ายของกิจกรรมที่ชอบน้อยที่สุดออกก่อน เช่น หากออกกำลังกายแค่ 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ และส่วนใหญ่มักเป็นการวิ่งบนลู่ อาจตัดค่าสมาชิกฟิตเนสออก แล้วเปลี่ยนเป็นการวิ่งตามสวนสาธารณะใกล้บ้านหรือที่ทำงาน หรือออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่บ้านแทน

 

  • 20% สำหรับการเก็บออมหรือใช้หนี้ (Savings & debts)

เช่น เงินฝากออมทรัพย์ สลากออมทรัพย์ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ค่าเบี้ยประกันสะสมทรัพย์ ค่าซื้อหน่วยลงทุน  รวมไปถึงหนี้บัตรกดเงินสด หนี้บัตรเครดิต และเงินกู้เพื่อการศึกษาและการรักษาพยาบาลด้วย ค่าใช้จ่ายประเภทนี้ไม่ควรตัดออกเหมือนหมวดอื่น ๆ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินในอนาคตได้

50%
NEEDS
30%
WANTS
20%
SAVINGS & DEBTS


ถ้ายังคิดไม่ออกว่าจะนำเงินในสัดส่วนนี้ไปใช้เก็บออมยังไงดี OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิต ขอแนะนำประกันสะสมทรัพย์โอเชี่ยนไลฟ์ ออมสบาย 10/5 เบี้ยเริ่มต้นแค่ 30,000 บาท อีกทั้งยังให้เงินคืน 20% ของจำนวนเงินเอาประกันภัยทุกปี ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 1 - 6 อีกด้วย

สนใจขอทำประกันสะสมทรัพย์ โอเชี่ยนไลฟ์ ออมสบาย 10/5 คลิก

อย่างไรก็ตาม สูตร 50/30/20 ก็มีความสับสนอยู่บ้าง โดยเฉพาะการแบ่งแยกระหว่าง “ค่าใช้จ่ายจำเป็น” และ “ค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต” เช่น การเป็นเจ้าของรถยนต์ หลายคนมักจัดให้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์เป็นค่าใช้จ่ายจำเป็น แต่กลับใช้รถยนต์นาน ๆ ครั้ง เฉพาะเสาร์อาทิตย์หรือเดินทางไปต่างจังหวัดเท่านั้น ดังนั้น จึงควรกำหนดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตมากกว่า นอกจากนั้น ในกรณีของผู้ที่เพิ่งจบการศึกษาแล้วเริ่มเข้าสู่วัยทำงาน และได้เงินเดือนไม่มากนัก อาจมีค่าใช้จ่ายบางประเภทที่สัดส่วนสูงถึง 50% ของรายได้ เช่น ลูกจ้างประจำของหน่วยงานข้าราชการ ได้รับเงินเดือนเพียง 11,500 บาท แต่อาจมีค่าเช่าบ้านและค่าน้ำค่าไฟรวมกันสูงถึง 6,000 บาทต่อเดือน คิดเป็น 52% ของรายได้ทั้งหมด
 

แบบที่ 2 : 70/20/10 สูตรบริหารเงินสำหรับผู้เริ่มต้น

สูตรนี้เหมาะกับผู้ที่เริ่มต้นทำงาน และเริ่มวางแผนทางการเงิน เนื่องจากไม่มีการแบ่งแยกระหว่างค่าใช้จ่ายจำเป็นและค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ชัดเจน ค่าใช้จ่ายทั้ง 2 จะถูกควบรวมกันเป็น “ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน” ทำให้ไม่สับสน นอกจากนั้นผู้ที่มีหนี้เกี่ยวกับการศึกษาอย่าง หนี้กยศ. จะสามารถใช้สูตรบริหารเงินนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะแบ่งแยกสัดส่วนของ “หนี้” แยกออกมาจากจากค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อย่างชัดเจน

สูตรบริหารเงิน 70/20/10 แบ่งรายได้หลังจากหักภาษีออกแล้ว ดังนี้
 

  • 70% สำหรับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน (Daily expenses) 

ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร ค่าเช่าหอพัก ที่เป็นค่าใช้จ่ายจำเป็น ไปจนถึงค่าเสื้อผ้า ค่ากินดื่มสังสรรค์ ที่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต และค่าน้ำมันรถ ที่เป็นค่าใช้จ่ายก่ำกึ่งระหว่างทั้ง 2 ประเภท ก็สามารถนำมารวมกันในหมวดนี้ได้ 

นอกจากนั้น คนไทยจำนวนไม่น้อย แม้จะเริ่มทำงานแล้ว ก็ยังอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกับพ่อแม่ จึงไม่มีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นบางอย่าง หรือถ้ามี ก็ไม่ต้องรับผิดชอบมากนัก เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าอาหาร ค่าสินค้าอุปโภคบริโภคภายในบ้าน เป็นต้น จึงสามารถใช้จ่ายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตได้มากขึ้น
 

  • 20% สำหรับการเก็บออมและการลงทุน (Savings & investments)

ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เน้นที่การเก็บออมและการลงทุนเป็นหลัก สำหรับผู้เริ่มต้น ควรเริ่มจากการเก็บออมเพื่อเป็นเงินฉุกเฉินก่อน แล้วจึงจัดสรรเพื่อการลงทุนอื่น ๆ ต่อไป
 

  • 10%  สำหรับใช้หนี้และดูแลครอบครัว (Debts & donations)


นอกจากหนี้ประเภทต่าง ๆ ที่ได้กล่าวไปแล้วในสูตร 50/30/20 หากต้องการให้หนี้รถและบ้าน (ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในหมวดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน) รวมถึงหนี้การศึกษาหมดไวขึ้น ก็สามารถนำเงินในส่วนนี้ไป “โปะ” ได้ด้วย นอกจากนั้น ในกรณีของผู้ที่ยังอาศัยอยู่กับพ่อแม่ ก็สามารถดูแลหรือแบ่งเบาภาระครอบครัว ด้วยการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายบางส่วนในบ้านได้ด้วยเงินส่วนนี้

50%
WANTS + NEEDS = DAILY EXPENSES
20%
SAVINGS & INVESTMENTS

10%
DEBTS &

 DONATIONS


สูตรบริหารเงิน 70/20/10 เองก็มีข้อจำกัดในทางตรงกันข้ามกับสูตร 50/30/20 เนื่องจากสูตรนี้ไม่มีการกำหนดแน่นอนระหว่างค่าใช้จ่ายจำเป็น และค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนในการแยกค่าใช้จ่ายทั้ง 2 ประเภทกับหลาย ๆ คนที่ตัดสินใจแยกบ้านกับพ่อแม่ หรือแต่งงานแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการเงิน

นอกจากนั้น บางคนอาจมีภาระหนี้สินสูง ซึ่งเมื่อคำนวณแล้วอาจเกินกว่า 10% ของค่าใช้จ่าย แต่เมื่อใช้สูตรบริหารเงินนี้แล้ว อาจไม่ครอบคลุมจำนวนหนี้ทั้งหมด ซึ่งหากชำระไม่ครบ อาจโดนค่าปรับจากธนาคาร หรือในกรณีมีหนี้บัตรเครดิต หากจ่ายขั้นต่ำเป็นระยะเวลานาน ๆ นอกจากจะเคลียร์หนี้เงินต้นไม่ได้แล้ว ดอกเบี้ยยังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วย

 

แบบที่ 3 : 40/40/20 สูตรบริหารเงินเพื่อความมั่งคั่ง

สูตรนี้เหมาะกับผู้ที่มีหนี้สินน้อย หรือไม่มีหนี้สินเลย เพราะเป็นสูตรที่เน้นการเก็บออมและการลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ในระยะยาว จึงสามารถใช้เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับทุกคนได้

สูตรบริหารเงิน 40/40/20 แบ่งรายได้หลังจากหักภาษีออกแล้ว ดังนี้
 

  • 40% สำหรับค่าใช้จ่ายจำเป็น (Needs) 

ค่าใช้จ่ายจำเป็นของสูตร 40/40/20 นั้นไม่ต่างจากสูตร 50/30/20 แต่ด้วยสัดส่วนที่น้อยกว่า ผู้เลือกใช้สูตรนี้จึงต้องวางแผนการใช้จ่ายให้ถี่ถ้วน และอาจต้องประหยัดกว่าผู้เลือกใช้สูตรอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่มีรายได้สูง เงินจำนวน 40% ของรายได้อาจมากเกินพอสำหรับค่าใช้จ่ายจำเป็นก็ได้
 

  • 40% สำหรับการเก็บออมและการลงทุน (Savings & investments)

สิ่งที่ทำให้สูตร 40/40/20 มีเอกลักษณ์และต่างจากสูตรอื่น ๆ คือการเก็บออมและลงทุนในสัดส่วนที่สูงถึง 40% ของรายได้ จึงทำให้ครอบคลุมทั้งการเก็บออมเพื่อเป็นเงินฉุกเฉิน การเก็บออมในรูปแบบเงินฝากออมทรัพย์ที่ความเสี่ยงต่ำแต่ก็ยังมีดอกเบี้ย การทำประกันสะสมทรัพย์ การลงทุนในกองทุน  หุ้น หรือแม้กระทั่งสกุลเงินดิจิทัลต่าง ๆ 

ข้อควรระวังในการใช้สูตร 40/40/20 คือ การลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงมากจนเกินไป อาจทำให้ขาดทุนจนมูลค่าของสินทรัพย์ที่มีต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้
 

  • 20% สำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต (Wants)

หลาย ๆ คนเลือกที่จะไม่ใช้สูตร 40/40/20 เพราะมองว่าสัดส่วนของค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตนั้นน้อยเกินไป จนอาจทำให้เกิดความเครียด เพราะต้องจำกัดการใช้เงินเพื่อไลฟ์สไตล์ เช่น ไม่สามารถมีไลฟ์สไตล์แบบ Cafe Hopping (การเข้าออกร้านกาแฟที่ตกแต่งสวยงาม หรือเสิร์ฟกาแฟคุณภาพสูงหลาย ๆ ร้านต่อวัน) ได้ ดังนั้น สูตรนี้อาจเหมาะกับผู้ที่ชอบท่องเที่ยวมากกว่าซื้อของเพื่อไลฟ์สไตล์ เพราะสามารถสะสมค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพื่อเป็นเงินทุนก้อนใหญ่สำหรับท่องเที่ยวประจำปีได้

40%
NEEDS
40%
SAVINGS & INVESTMENTS
20%
WANTS


ไม่ว่าสูตรการเงินที่คุณเลือกใช้จะเป็นสูตรไหน ก็สามารถใช้ประกันสะสมทรัพย์เป็นตัวช่วยในสัดส่วนของการเก็บออมได้เสมอ โดยเฉพาะประกันสะสมทรัพย์ OCEAN LIFE ออมสบาย 10/5 ที่นอกจากจะให้เงินคืนแล้ว ยังให้ความคุ้มครองชีวิต ช่วยลดความกังวลหากมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นอีกด้วย

“ลดหย่อนได้สูงสุด 1 แสน ไม่ต้องเสี่ยงกับความผันผวนของตลาด 
ขอทำประกันลดหย่อนภาษี โอเชี่ยนไลฟ์ ออมสบาย 10/5 คลิก

 

ข้อควรทราบ :

  • โอเชี่ยนไลฟ์ออมสบาย 10/5 เป็นชื่อทางการตลาดของแบบประกันไทยสมุทรออมสบาย 10/5
  • การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
  • ความคุ้มครอง และการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
  • เบี้ยประกันชีวิต สามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
  • ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันชีวิต ไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทฯ นำส่งข้อมูลเบี้ยประกันชีวิตให้กรมสรรพากร
  • การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยการที่ตัวแทนประกันชีวิตมาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น
  • ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม

 

อ้างอิง : 

https://www.britannica.com/money/what-is-the-50-30-20-rule
https://www.businessinsider.com/personal-finance/70-20-10-budget
https://medium.com/

สิทธิพิเศษที่เกี่ยวข้อง

OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ เข้าถึงสิทธิประโยชน์ และกิจกรรมมากมาย
สะดวก รวดเร็ว พร้อม ช้อป ชิม ชิล ไปกับ OCHI COIN

QR Code Application
ดาวน์โหลดเลย
OCEAN CLUB APP

บอกข้อมูลสั้นๆ เกี่ยวกับตัวคุณ
เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม

วันหยุดวันฉัตรมงคล 4-6 พฤษภาคม 2567
ฉันต้องการค้นหาเกี่ยวกับ