7 โรคร้ายแรงมีอะไรบ้าง ?

7 โรคร้ายแรงมีอะไรบ้าง

 

ในอดีต หากกล่าวถึงโรคร้ายแรง เรามักคิดว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ในปัจจุบันโรคร้ายแรงต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นกับคนวัยอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่น หรือวัยทำงานได้ด้วย โดยเฉพาะ 7 โรคร้ายแรงยอดฮิต ใครที่สงสัยว่า 7 โรคร้ายแรงมีอะไรบ้าง แล้วมีประกันโรคร้ายแรงแบบประกันไหนที่คุ้มครองทั้ง 7 โรค ติดตามได้ที่บทความนี้

 

ทำความรู้จักกับ 7 โรคร้ายแรงมีอะไรบ้าง ?

7 โรคร้ายแรงที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ ประกอบไปด้วย  โรคมะเร็งระยะไม่ลุกลาม, โรคมะเร็งระยะลุกลาม, โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรังขั้นรุนแรง/โรคปอดระยะสุดท้าย, กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด และโรคไวรัสตับอักเสบขั้นรุนแรง

รายละเอียดของแต่ละโรค มีดังนี้

 

1. โรคมะเร็งระยะไม่ลุกลาม (Non-invasive cancer)

คือ การเกิดขึ้นครั้งแรกของเนื้องอกหรือเซลล์ที่ได้รับการตรวจยืนยันทางพยาธิวิทยาว่าเป็นมะเร็ง และไม่ลุกลามเกินกว่าชั้นรองรับเนื้อเยื่อชั้นผิว (Basement Membrane) หรือไม่กระจายไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง หรือไปยังอวัยวะอื่น ๆ  

 

2. โรคมะเร็งระยะลุกลาม (Invasive cancer)

คือ การเกิดขึ้นของเนื้องอกหรือเซลล์ที่ได้รับการตรวจยืนยันทางพยาธิวิทยาว่าเป็นมะเร็ง และมีการลุกลามลึกเกินกว่าชั้นรองรับเนื้อเยื่อชั้นผิว (Basement Membrane) หรือกระจายไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง หรือไปยังอวัยวะอื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม ระยะของมะเร็งยังสามารถแบ่งย่อย ๆ ได้อีก โดยสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความนี้

ปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง

อาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายในร่างกายของแต่ละคน โดยปัจจัยภายนอกนั้น เป็นไปได้ทั้งจากพฤติกรรม เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีสารก่อมะเร็ง เช่น สารที่เกิดจากการปิ้งย่าง สารเคมีกลุ่มไนโตรซามีน (Nitosamine) ที่ใช้ในการถนอมอาหาร, การได้รับรังสี เช่น รังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด และการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือพยาธิ เช่น พยาธิใบไม้ในตับ เป็นต้น

ส่วนปัจจัยภายในร่างกาย เช่น การผิดปกติทางพันธุกรรม ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น โดยเกิดโรคมะเร็งจากปัจจัยภายในร่างกายเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับปัจจัยภายนอก ดังนั้น โรคมะเร็งจึงอาจป้องกันได้บ้างด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยภายนอกดังกล่าว

(ข้อมูลจาก : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข)

 

3. โรคหลอดเลือดสมองแตก หรืออุดตัน (Major Stroke)

คือ ภาวะสมองขาดเลือดที่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือมีเลือดออกในสมอง ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ ทำให้เซลล์สมองขาดออกซิเจน ส่งผลให้สมองตาย โดยลักษณะอาการที่สังเกตได้ เช่น อาการอ่อนแรงหรือชาอย่างเฉียบพลัน บริเวณ หน้า แขน ขา มักจะเกิดกับร่างกายซีกใดซีกหนึ่งแค่ด้านเดียว, มีอาการเวียนหัวปวดศีรษะรุนแรง ซึงลง เป็นต้น

ปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองแตก หรืออุดตัน 

  • โรคหลอดเลือดสมองแตก มักจะเกิดจาก ภาวะความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ การได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดที่มากเกินความจำเป็น หรืออุบัติเหตุ เป็นต้น
  • โรคหลอดเลือดอุดตัน มักจะเกิดจาก โรคอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยเป็นมาก่อนแล้ว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง รวมไปถึงพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น การสูบบุหรี่จัด การขาดการออกกำลังกาย ความเครียด เป็นต้น

(ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลเมดพาร์ค)

 

4. ไตวายเรื้อรัง (Chronic Kidney Failure)

คือ ภาวะที่ไตเสื่อมลงอย่างช้า ๆ ต่อเนื่อง หรือมีความผิดปกติของไตเกินกว่า 3 เดือน จนไม่สามารถฟื้นกลับมาทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ โรคไตเรื้อรังเป็นภัยเงียบ ซึ่งมักไม่แสดงอาการให้เห็นได้ชัดเจน จนกระทั่งเมื่อไตเสื่อมมากแล้ว

ปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคไตวายเรื้อรัง

มักจะเกิดจากเป็นโรคเรื้อรังอยู่ก่อนแล้ว เช่น เบาหวาน นิ่วในไต เกาต์ , ผลข้างเคียงจากยา และสารเคมีต่าง ๆ เช่น ยากลุ่มแก้ปวดและแก้อักเสบ NSAIDs ยาปฏิชีวนะ ยาลดความอ้วน และความผิดปกติหรือกรรมพันธุ์ตั้งแต่กำเนิด เช่น โรคถุงน้ำในไต เป็นต้น

(ข้อมูลจาก : ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

 

5. โรคหลอดลมปอดอุดกั้น เรื้อรังขั้นรุนแรง / โรคปอดระยะสุดท้าย (Severe Chronic Obstructive Pulmonary Disease / End-stage Lung Disease)

คือ การที่หลอดลม เนื้อปอดและหลอดเลือดปอดเกิดการอักเสบเสียหายเนื่องจากได้รับแก๊สหรือสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองเป็นเวลานาน ส่งผลให้หลอดลมค่อย ๆ ตีบแคบลงหรือถูกอุดกั้นโดยไม่อาจฟื้นคืนสู่สภาพปกติได้อีก

ปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดลมปอดอุดกั้น เรื้อรังขั้นรุนแรง / โรคปอดระยะสุดท้าย

มักจะเกิดจากการสูบบุหรีติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน, มลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง ควันพิษ รวมถึงการหายใจเอาสารเคมีเข้าไปในปอดติดต่อกันเป็นเวลานาน, โรคทางพันธุกรรม เป็นต้น

(ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์)

 

6. กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด (Acute Heart Attack)

คือ การที่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดมาเลี้ยง สาเหตุมักเกิดจากหลอดเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดการอุดตันกะทันหันจากการเกิดก้อนลิ่มเลือด (Thrombus) อาการจะเกิดขึ้นเฉียบพลัน โดยผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก เป็นอาการเตือนที่สำคัญ 

ปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด

มักเกิดจากโรคประจำตัว เช่นโรคเบาหวาน โรคความดัน โรคหัวใจ หรืออาจเกิดในคนไข้ที่นอนกรน และมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ รวมถึงการที่ออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้น้อยก็มีความเสี่ยงเช่นกัน

(ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และโรงพยาบาลรามาธิบดี)

 

7. โรคไวรัสตับอักเสบขั้นรุนแรง (Fulminant Viral Hepatitis)

คือ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ทำให้ตับวาย  ซึ่งเชื้อไวรัสตับอักเสบ มีด้วยกัน 5 ชนิด ได้แก่ เอ บี ซี ดี และ อี สำหรับชนิดที่เป็นปัญหาสำคัญในประเทศไทยคือ บี และ ซี 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไวรัสตับอักเสบขั้นรุนแรง

  • ไวรัสตับอักเสบ เอ ติดต่อทางอาหาร หรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื่อโรค
  • ไวรัสตับอักเสบ บี ติดต่อมาจากมารดาสู่ทารก หรือทางเพศสัมพันธ์
  • ไวรัสตับอักเสบ ซี ติดต่อทางเลือด หรือทางเพศสัมพันธ์
  • ไวรัสตับอักเสบ ดี ติดต่อทางเลือด
  • ไวรัสตับอักเสบ อี ติดต่อทางอาหาร เกิดจากการทานอาหารที่ปรุงไม่สุก

(ข้อมูลจาก : กรมควบคุมโรค, โรงพยาบาลสุขุมวิท และโรงพยาบาลศิครินทร์)

 

ประกัน 7 โรคร้ายแรง

ใครที่กำลังมองหาประกันชีวิตที่คุ้มครองทั้ง 7 โรคร้ายแรงนี้ OCEAN LIFE ไทยสมุทรขอแนะนำ โอเชี่ยนไลฟ์ ซูเปอร์ ซีไอ 120 (CI120) สัญญาเพิ่มเติมที่คุ้มครองถึง 120 โรคร้าย  

สนใจสัญญาเพิ่มเติม โอเชี่ยนไลฟ์ ซูเปอร์ ซีไอ 120 ผ่านช่องทางออนไลน์ คลิก

ข้อควรทราบ :

  • สำหรับสัญญาสำหรับสัญญาเพิ่มเติมโอเชี่ยนไลฟ์ ซูเปอร์ ซีไอ 120 (CI120) สัญญาเพิ่มเติมนี้มีระยะเวลาเอาประกันภัย 1 ปี ผู้เอาประกันภัยอาจขอต่ออายุสัญญาเพิ่มเติม ได้ภายใต้เงื่อนไขสัญญาเพิ่มเติม ทั้งนี้ สำหรับปีต่ออายุ อาจมีการเปลี่ยนแปลงเบี้ยประกันภัย ขึ้นอยู่กับอายุ ชั้นอาชีพ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น หรือจากประสบการณ์การจ่ายค่าสินไหมโดยรวมของพอร์ตโฟลิโอ(Portfolio)ของสัญญาเพิ่มเติมนี้ รวมถึงเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ

  • การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด

  • ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์

  • เบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพ สามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด 

  • ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทฯนำส่งข้อมูลเบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพให้กรมสรรพากร 

  • การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยการที่ตัวแทนประกันชีวิตมาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น

  • ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม

 

 

สิทธิพิเศษที่เกี่ยวข้อง

OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ เข้าถึงสิทธิประโยชน์ และกิจกรรมมากมาย
สะดวก รวดเร็ว พร้อม ช้อป ชิม ชิล ไปกับ OCHI COIN

QR Code Application
ดาวน์โหลดเลย
OCEAN CLUB APP

บอกข้อมูลสั้นๆ เกี่ยวกับตัวคุณ
เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม

ฉันต้องการค้นหาเกี่ยวกับ