4 ประกันต้องมี เมื่อซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในงาน MOTOR SHOW

ประกันสำหรับรถยนต์

 

รถยนต์ไฟฟ้ากำลังเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เพราะช่วยลดการใช้พลังงานที่ผลิตมลพิษและยังประหยัดกว่ารถยนต์ที่ต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงอีกด้วย แม้ว่ารถยนต์ไฟฟ้าที่จำหน่ายในปัจจุบันจะผ่านการทดสอบความปลอดภัยหลายขั้นตอน แต่ก็ยังมีข่าวอุบัติเหตุและเหตุขัดข้องเกี่ยวกับรถไฟฟ้าออกมาให้เห็นอยู่เสมอ จึงทำให้หลาย ๆ คนกังวลใจ ดังนั้น ในบทความนี้เราจะพาคุณไปพบกับ 4 ประกันที่ควรมีเมื่อคุณตัดสินใจที่จะเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อลดความกังวล และเสริมความมั่นใจในการขับขี่

 

ประกันภัยภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ.

คือ การทำประกันภัย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยเจ้าของรถทุกชนิดและประเภท ซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ ต้องทำประกันภัยภาคบังคับทุกคน หากเจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ฝ่าฝืน ไม่ทำประกันภัยภาคบังคับตามที่กฏหมายกำหนด จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บา

 

ความคุ้มครองของประกันภัยภาคบังคับ

ประกันภัยภาคบังคับจะให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากรถทุกคน ทั้งผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ และผู้เสียชีวิต โดยคุ้มครองทั้งบุคคลในรถและนอกรถ เช่น ผู้ขับ ผู้โดยสาร คนเดินถนน เป็นต้น แต่ประกันภัยภาคบังคับจะไม่ให้ความคุ้มครองต่อทรัพย์สิน ซึ่งรวมถึงตัวรถด้วยนั่นเอง

สามารถแบ่งความคุ้มครองของประกันภัยภาคบังคับได้เป็น 2 ส่วน ดังนี้

1. ค่าเสียหายเบื้องต้น 

โดยผู้ประสบภัยจากรถ หรือทายาท จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นภายใน 7 วัน นับจากวันที่บริษัทได้รับคำร้องขอ โดยค่าเสียหายเบื้องต้น แบ่งออกเป็น

  • ค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง รายละไม่เกิน 30,000 บาท
  • ค่าชดเชย กรณีทุพพลภาพถาวร หรือสูญเสียอวัยวะ รายละ 35,000 บาท
  • ค่าปลงศพ กรณีเสียชีวิต รายละไม่เกิน 35,000 บาท (จ่ายให้แก่ทายาท)
  • กรณีได้รับบาดเจ็บ แต่ต่อมาเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร หรือสูญเสียอวัยวะ จะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง ค่าชดเชย ค่าปลงศพ รวมกันสูงสุดไม่เกิน 65,000 บาท

หากไม่สามารถเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นดังกล่าวจากใครได้เลย ผู้ประสบภัยสามารถเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นกับกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย สำนักงาน คปภ. ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ 

  • รถที่ก่อให้เกิดความเสียหายไม่ได้ทำประกันภัย และเจ้าของรถไม่ยอมจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น หรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นไม่ครบจำนวน
  • รถที่ก่อให้เกิดความเสียหายถูกขโมยมา และได้แจ้งความร้องทุกข์ไว้แล้ว
  • ถูกชนแล้วหนี หรือไม่ทราบว่ารถคันใดเฉี่ยวชน
  • บริษัทประกันภัยไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้กับผู้ประสบภัย หรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นไม่ครบตามจำนวน
  • ถูกชนจากรถที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องมีการทำประกันภัย เช่น รถสำนักพระราชวัง รถส่วนราชการ และรถนั้นไม่มีประกันภัย

2. ส่วนที่เกินจากค่าเสียหายเบื้องต้น

  • ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีที่ผู้ประสบภัยเสียชีวิต รายละ 500,000 บาท
  • ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีที่ผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร รายละ 200,000 – 500,000 บาท (กรณีสูญเสียอวัยวะ เป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ)
  • ค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง รายละไม่เกิน 80,000 บาท
  • ค่าชดเชยรายวัน กรณีต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล วันละ 200 บาทตามความเป็นจริง สูงสุดไม่เกิน 20 โดยถ้าผู้ขับขี่เป็นฝ่ายผิด จะได้รับเพียงค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

 

ตัวอย่างชนิดของรถที่ต้องทำประกันภัยภาคบังคับ

  • รถยนต์
  • รถจักรยานยนต์
  • รถสามล้อเครื่อง
  • รถยนต์โดยสาร
  • รถบรรทุก
  • หัวรถลากจูง
  • รถพ่วง
  • รถบดถนน
  • รถอีแต๋น

 

ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ

คือ การประกันภัยที่เจ้าของรถยนต์ ผู้ครอบครองรถยนต์ หรือผู้ขับขี่รถยนต์ ทำเองด้วยความสมัครใจ โดยที่กฎหมายไม่ได้บังคับ โดยมีจุดประสงค์เพื่อคุ้มครองความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวรถ หรือความรับผิดของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อบุคคลภายนอกเพิ่มเติม

 

ความคุ้มครองของประกันภัยภาคสมัครใจ

ปัจจุบันการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจที่เป็นมาตรฐาน มีความคุ้มครองที่แตกต่างกันดังนี้

  • การประกันภัยรถยนต์ ประเภท 1 คุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกทั้งชีวิตและทรัพย์สิน, คุ้มครองรถยนต์สูญหายไฟไหม้ และคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์
  • การประกันภัยรถยนต์ ประเภท 2 คล้ายกับประเภทที่ 1 แต่ไม่คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์
  • การประกันภัยรถยนต์ ประเภท 3 คุ้มครองเฉพาะความรับผิดต่อบุคคลภายนอกทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
  • การประกันภัยรถยนต์ ประเภท 4 คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอกเท่านั้น
  • การประกันภัยรถยนต์ ประเภท 5 หรือ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คุ้มครองภัยเฉพาะ แบบประกัน 2 พลัส (2+) ให้ความคุ้มครองคล้ายแบบประกันภัย ประเภท 2 และแบบประกัน 3 พลัส (3+) ให้ความคุ้มครองคล้ายแบบประกันภัย ประเภท 3 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี

 

ประกันสินเชื่อรถยนต์ (MRTA)

หรือ ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อเพื่อประชาชน สำหรับรถยนต์ คือ กรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตหรือทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร เป็นจำนวนเท่ากับจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ลดลงตามงวดการผ่อนชำระ ซึ่งจะสอดคล้องกับจำนวนหนี้ที่เหลืออยู่ 

ประกันสินเชื่อรถยนต์มีระยะเวลาเอาประกันภัยคร่าว ๆ ตั้งแต่ 1- 8 ปี และชำระเบี้ยประกันภัยเพียงครั้งเดียวเท่านั้น

 

ความคุ้มครองของประกันสินเชื่อรถยนต์

แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ด้วยกัน คือ

1. กรณีเสียชีวิต

บริษัทจะจ่ายจำนวนเงินผลประโยชน์เท่ากับจำนวนเงินเอาประกันภัยของเดือนที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ตามจำนวนที่ได้ระบุไว้ในตารางแสดงจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ลดลงให้แก่ผู้รับประโยชน์หลัก ซึ่งก็คือสถาบันการเงินที่ได้ทำสินเชื่อรถยนต์ไว้นั่นเอง โดยจำนวนเงินดังกล่าวจะไม่เกินจำนวนหนี้ที่ผู้เอาประกันภัยค้างชำระอยู่กับผู้รับประโยชน์หลัก ณ เวลานั้น หากมีจำนวนเงินเอาประกันภัยเหลืออยู่ บริษัทจะจ่ายให้แก่ผู้รับประโยชน์รองตามที่ระบุไว้ในสัญญา

ตัวอย่าง

นาง ก. อายุ 38 ปี ขอทำประกันสินเชื่อรถยนต์กับ OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิต โดยเลือกจำนวนเอาประกันภัย 970,000 บาท ซึ่งเท่ากับจำนวนเงินกู้เพื่อผ่อนซื้อรถยนต์ไฟฟ้า โดยเลือกให้มีความคุ้มครองนาน 8 ปี และชำระเบี้ยประกันภัย 5,432 บาท

หากนาง ก. เสียชีวิตในเดือนมกราคมของปีกรมธรรม์ที่ 6 (เดือนที่ 61) จะได้รับผลประโยชน์กรณีเสียชีวิตจำนวน 354,050 บาท โดยผู้รับผลประโยชน์จะเป็นสถาบันการเงินที่นางก. ขอกู้สินเชื่อ ซึ่งหากจำนวนหนี้คงเหลือน้อยกว่า 354,050 บาท บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ที่เหลือให้กับทายาท

สนใจทำประกันสินเชื่อรถยนต์ OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิตคลิก

 

  • สร้างหลักประกันให้คุณและคนข้างหลังช่วยลดภาระหนี้สิน หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน
  • คุ้มครองทั้งกรณีเสียชีวิตและทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
  • ซื้อง่ายผ่านช่องทาง Online

2. กรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง

บริษัทฯ จะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยของเดือนที่ผู้เอาประกันภัยเริ่มต้นการทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ตามจำนวนที่ได้ระบุไว้ในตารางแสดงจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ลดลง

 

ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA)

ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล หรือ Personal Accident (PA) คือ ประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองในกรณีบาดเจ็บทางร่างกาย ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต อันเนื่องมากจากอุบัติเหตุเท่านั้น โดยบริษัทประกันภัยจะเข้ามารับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาล หรือจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้เอาประกันภัย

 

ความคุ้มครองของประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล

แบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่

1. การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง (อ.บ.1)

คุ้มครองความสูญเสีย หรือความเสียหายอันเกิดจากการบาดเจ็บทางร่างกายของผู้เอาประกันภัยโดยอุบัติเหตุและทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงภายใน 180 วัน นับแต่วันที่เกิดอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บที่ได้รับ ทำให้ผู้เอาประกันภัยต้องรักษาตัวติดต่อกันในฐานะผู้ป่วยในในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลเวชกรรม โดยอาจจ่ายค่าทดแทนแตกต่างกัน เช่น จ่ายค่าทดแทน 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยประสบอุบัติเหตุและกลายเป็นบุคคลทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงไม่น้อยกว่า 12 เดือนติดต่อกัน นับแต่วันที่เกิดอุบัติเหต แต่จ่ายค่าทดแทน 60% หากผู้เอาประกันภัยสูญเสียสายตาหนึ่งข้าง เป็นต้น

ประกันอุบัติเหตุ เลือกง่าย ได้เพิ่ม ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลแบบ อ.บ.1 จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิต คุ้มครองเพียบ เช่น 

  • คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุสูงสุด 100,000 บาท/ครั้ง 
  • สบายใจเมื่อขับรถทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะประกันอุบัติเหตุ เลือกง่าย ได้เพิ่ม คุ้มครองอุบัติเหตุตลอด 24 ชั่วโมงทั่วโลก
  • จ่ายเงินชดเชยรายได้เมื่อต้องนอนโรงพยาบาล สูงสุดวันละ 1,000 บาท*

ทำประกันอุบัติเหตุ เลือกง่าย ได้เพิ่มคลิก


2. คุ้มครองการเสียชีวิต การสูญเสียมือ เท้า และสายตา นิ้ว หูหนวกและเป็นใบ้ หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ทุพพลภาพถาวรบางส่วน (อ.บ.2)

คุ้มครองความสูญเสีย หรือความเสียหายอันเกิดจากการบาดเจ็บทางร่างกายของผู้เอาประกันภัยโดยอุบัติเหตุ และทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงภายใน 180 วัน นับแต่วันที่เกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บที่ได้รับ ทำให้ผู้ได้รับความคุ้มครองต้องรักษาตัวติดต่อกัน ในฐานะผู้ป่วยในในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลเวชกรรม โดยอาจจ่ายค่าทดแทนแตกต่างกัน เช่น จ่ายค่าทดแทน 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยสูญเสียเท้าหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อเท้าและสายตาหนึ่งข้าง แต่จ่ายค่าทดแทน 10% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยสูญเสียนิ้วหัวแม่มือ (หนึ่งข้อ)

แม้ว่าประกันภัยที่มีประโยชน์ต่อเจ้าของรถยนต์นั้น จะมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน แต่กฏหมายบังคับให้ทำเพียงแค่พ.ร.บ. เท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากต้องการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สินแล้ว อาจพิจารณาทำประกันให้ครบทั้ง 4 ประเภท โดยเลือกแผนที่เหมาะกับการใช้รถยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด

 

ข้อความทราบ : 

*เมื่อขอทำสัญญาประกันอุบัติเหตุ เลือกง่าย ได้เพิ่ม ความคุ้มครองแผน 13 - 14 สำหรับเข้าพักรักษาในโรงพยาบาลห้องทั่วไป (สูงสุดไม่เกิน 365 วัน)

  • % หมายถึง เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
  • การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
  • ความคุ้มครอง และการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
  • เบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพสามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด 
  • ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทฯ นำส่งข้อมูลเบี้ยประกันสุขภาพให้กรมสรรพากร
  • การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยการที่ตัวแทนประกันชีวิตมาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น
  • ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม

อ้างอิง : 

https://www.tgia.org/insurance/motor
การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ พ.ร.บ. โดย สำนักงาน คปภ.
เงื่อนไข กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ และเอกสารแนบท้าย
https://www.tgia.org/insurance/accident

สิทธิพิเศษที่เกี่ยวข้อง

OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ เข้าถึงสิทธิประโยชน์ และกิจกรรมมากมาย
สะดวก รวดเร็ว พร้อม ช้อป ชิม ชิล ไปกับ OCHI COIN

QR Code Application
ดาวน์โหลดเลย
OCEAN CLUB APP

บอกข้อมูลสั้นๆ เกี่ยวกับตัวคุณ
เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม

วันหยุดวันฉัตรมงคล 4-6 พฤษภาคม 2567
ฉันต้องการค้นหาเกี่ยวกับ