การรับประกันชีวิตบุคคลหลายคนภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดียว โดยพิจารณาถึงความเสี่ยงภัยของบุคคลในกลุ่มทั้งหมด ด้วยอัตราเฉลี่ย ไม่ว่าจะเป็นอายุ เพศ หน้าที่การงาน หรือจำนวนเงินเอาประกันภัย ซึ่งคำนวณเป็นอัตราเบี้ยประกันภัยเพียงอัตราเดียว เพื่อใช้กับบุคคลทุกคนในกลุ่มนั้นๆ
ประกันชีวิตกลุ่มเพื่อสวัสดิการพนักงานองค์กร
- นายจ้าง-ลูกจ้าง รวมถึงสมาชิกครอบครัวลูกจ้าง
- บุคลากรภาครัฐ / รัฐวิสาหกิจ
- สมาชิกสมาคม / ชมรมต่าง ๆ
- สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์
- สมาชิกสหภาพแรงงาน
- นักเรียน ครู อาจารย์
- กองทุนหมู่บ้าน
- สร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงานหรือสมาชิก
- เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร พนักงาน และ บุคคลภายนอก
- เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายขององค์กรด้านสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและเงินช่วยเหลือการเสียชีวิตของพนักงาน หรือ สมาชิกองค์กร
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปเป็นค่าใช้จ่ายขององค์กรได้ เพื่อลดภาษีขององค์กร
- สามารถกำหนดงบประมาณแต่ละปีได้ เพราะทราบค่าใช้จ่ายด้านเบี้ยประกันภัยอย่างแน่นอน
- เป็นการโอนความเสี่ยงภัยขององค์กรไปยังบริษัทประกันชีวิตรับผิดชอบแทน
- พนักงานได้รับการยกระดับสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลและได้รับความคุ้มครองจากการประกันชีวิตกลุ่ม
- พนักงานสามารถทำประกันภัยด้วยเบี้ยประกันภัยที่ถูกกว่าเมื่อเทียบกับการประกันชีวิตรายบุคคล
- มีกรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดียว
- มีเบี้ยประกันภัยเป็นอัตราเดียวกันสำหรับทุกคนในกลุ่ม
- ไม่มีการตรวจสุขภาพ
- การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยมีหลายลักษณะ
- กรณีมีเงินคืนตามประสบการณ์
ผลประโยชน์และความคุ้มครอง
การประกันชีวิตกลุ่ม ให้ความคุ้มครองการเสียชีวิตทุกกรณี ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกสถานที่ ทั่วโลก ทั้งในและนอกเวลาทำงาน
ผลประโยชน์ที่ได้รับ
บริษัทฯ จะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยตามที่กำหนดไว้ในตารางกรมธรรม์ให้แก่ผู้รับประโยชน์ หรือทายาท ตามที่ผู้เอาประกันภัยระบุไว้ ในทันทีที่ได้พิสูจน์ถึงการเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัย
ให้ความคุ้มครองผู้เอาประกันภัยในกรณีที่เสียชีวิต, สูญเสียอวัยวะต่างๆ รวมทั้งการทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร จนไม่สามารถประกอบอาชีพใดๆ ได้ ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่เกิดอุบัติเหตุ บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าชดเชยตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์
ให้ความคุ้มครองกรณีที่ผู้เอาประกันภัยตกเป็นบุคคลทุพพลภาพจากสาเหตุใดๆ ถึงขนาดไม่สามารถประกอบหน้าที่การงานใดๆ ในอาชีพประจำหรืออาชีพอื่นๆ ได้โดยสิ้นเชิงตลอดไป โดยการทุพพลภาพนั้นเกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 180 วัน นับแต่วันที่เกิดการเจ็บป่วย หรือการบาดเจ็บเนื่องจากอุบัติเหตุ
กรณีต่อไปนี้ถือว่าเป็นทุพพลภาพโดยสิ้นเชิงถาวร
- ตาบอดสนิท 2 ข้าง และไม่มีทางรักษาให้หายได้
- สูญเสียมือ 2 ข้าง หรือเท้า 2 ข้าง
- สูญเสียมือ 1 ข้าง กับเท้า 1 ข้าง
- ตาบอดสนิท และไม่มีทางรักษาให้หายได้ 1 ข้าง กับสูญเสียมือ หรือเท้า 1 ข้าง
**การสูญเสียมือหรือเท้า หมายถึง การตัดออกตั้งแต่ข้อมือหรือข้อเท้า หรือการสูญเสียสมรรถภาพในการใช้งานของอวัยวะนั้นโดยสิ้นเชิงถาวร
ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ผู้เอาประกันบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือป่วยไข้ ทำให้ต้องเข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลใดๆ ทั้งรัฐบาลและเอกชน ที่จัดตั้งขึ้นถูกต้องตามกฎหมาย
กรณีผู้ป่วยใน : ผู้เอาประกันต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยในติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
กรณีผู้ป่วยนอก : ผู้เอาประกันต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ให้บริการรักษาโดยแพทย์
กรณีผู้ป่วยใน (IPD)
ผู้ป่วยใน หมายถึง ผู้เอาประกันที่เข้ารับบริการของโรงพยาบาล และแพทย์ลงความเห็นให้อยู่รักษาตัวในโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยในเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง โดยแบ่งหมวดค่าใช้จ่าย ดังนี้
1. ค่าห้อง และค่าอาหารต่อวัน
กรณีผู้เอาประกันเข้ารับการรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน บริษัทฯ จะจ่ายค่าห้อง และค่าอาหารสำหรับการบาดเจ็บหรือป่วยไข้แต่ละครั้ง ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินผลประโยชน์สูงสุดตามที่ระบุไว้ในตาราง
2. ค่าห้อง ไอ.ซี.ยู.
กรณีผู้เอาประกันเข้ารับการรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน ในห้อง ไอ.ซี.ยู. ของโรงพยาบาล บริษัทฯ จะจ่ายค่าห้อง ไอ.ซี.ยู. สำหรับการบาดเจ็บหรือการป่วยไข้แต่ละครั้งตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินผลประโยชน์สูงสุดที่ระบุไว้ในตาราง
3. ค่าใช้จ่ายทั่วไป
กรณีผู้เอาประกันเข้ารับการรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน บริษัทฯ จะจ่ายค่าใช้จ่ายทั่วไปสำหรับการบาดจ็บหรือป่วยไข้แต่ละครั้ง ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินผลประโยชน์สูงสุดตามที่ระบุไว้ในตาราง
ค่าใช้จ่ายทั่วไป หมายถึง ค่าใช้จ่ายอันเกิดจาก
- การสั่งยาและเวชภัณฑ์โดยแพทย์
- การแต่งบาดแผล การเข้าเฝือกธรรมดาและการเข้าเฝือกพลาสเตอร์
- กายภาพบำบัด
- การตรวจหัวใจโดยคลื่นไฟฟ้า การตรวจโดยรังสีเอ็กซ์
- การตรวจในห้องปฏิบัติการ
- การฉีดยาเข้าเส้นโลหิต
- การให้โลหิต หรือพลาสม่า
- ค่ารถพยาบาลที่ไปและ/หรือมาจากโรงพยาบาล (สูงสุดไม่เกินค่าห้องและค่าอาหารต่อวัน เที่ยว)
- ค่าบริการพยาบาล
- ค่าห้องผ่าตัด
- การวางยาสลบ และการให้ออกซิเย่น รวมทั้งค่าวิสัญญีแพทย์
4. ค่าผ่าตัด
บริษัทฯ จะจ่ายค่าธรรมเนียมการผ่าตัดโดยแพทย์ สำหรับการบาดเจ็บ หรือการป่วยไข้ แต่ละครั้งตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินผลประโยชน์สูงสุดที่ระบุไว้ในตาราง (กรณีเลือกซื้อค่าผ่าตัดตามที่จ่ายจริง) หรือตามอัตราที่กำหนดไว้ในตารางอัตราค่าธรรมเนียมการผ่าตัด (กรณีเลือกซื้อค่าผ่าตัดตามตาราง)
ในกรณีที่มีการผ่าตัดเกินกว่าหนึ่งครั้งที่กระทำในแผลเดียวกัน บริษัทฯ จะจ่ายค่าธรรมเนียมสำหรับการผ่าตัดครั้งที่มากที่สุดเพียงครั้งเดียวแต่ไม่เกินที่ระบุไว้ในตารางอัตราค่าธรรมเนียมการผ่าตัด
ค่าผ่าตัด หมายถึง ค่าฝีมือแพทย์ผู้กระทำการผ่าตัด รวมถึงแพทย์ผู้ช่วยและพยาบาลช่วยผ่าตัด
การผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอก (ผ่าตัดย่อย) หรือค่าหัตถการ ( Day Case)
การผ่าตัดสามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยในโรงพยาบาล ซึ่งสามารถกลับบ้านได้ทันทีหลังการผ่าตัด ทั้งนี้ท่านจะต้องแจ้งความจำนงในการเข้ารับการผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอกนี้มายังไทยสมุทรประกันชีวิต ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
อนึ่งบริษัทฯ จะให้ความคุ้มครองผู้เอาประกัน เฉพาะกรณีเข้ารับการผ่าตัดในโรงพยาบาล เท่านั้น
5. ค่าดูแลโดยแพทย์
กรณีผู้เอาประกันเข้ารับการรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน บริษัทฯ จะจ่ายค่าดูแลโดยแพทย์ สำหรับการบาดเจ็บหรือการป่วยไข้ต่อครั้งต่อวัน ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินผลประโยชน์สูงสุดตามที่ระบุไว้ในตาราง
6. ค่าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค
กรณีผู้เอาประกันเข้ารับการรักษาในฐานะผู้ป่วยใน บริษัทฯ จะจ่ายค่าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค ตามที่จ่ายจริง ต่อการบาดเจ็บหรือป่วยไข้แต่ละครั้ง แต่ไม่เกินผลประโยชน์สูงสุดตามที่ระบุไว้ในตาราง
7. ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกฉุกเฉินกรณีอุบัติเหตุ
กรณีผู้เอาประกันเข้ารับการรักษาตัวภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เกิดอุบัติเหตุ ในฐานะผู้ป่วยนอกฉุกเฉินของโรงพยาบาล หรือคลินิกของแพทย์ บริษัทฯ จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินผลประโยชน์สูงสุดที่ระบุไว้ในตาราง
กรณีผู้ป่วยนอก (OPD)
กรณีที่ผู้เอาประกันเข้ารับการรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยนอก บริษัทฯ จะจ่ายค่ารักษาพยาบาล สำหรับการบาดเจ็บ หรือการป่วยไข้ต่อครั้งต่อวัน ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินผลประโยชน์สูงสุดตามที่ระบุไว้ใน ตาราง
กรณีเสียชีวิต
1. แบบคำร้องขอรับเงินสินไหมการประกันชีวิตกลุ่ม (ส.11) ที่กรอกรายละเอียดครบถ้วน พร้อมทั้งลงนามผู้ถือกรมธรรม์ และ ผู้รับประโยชน์
2. สำเนาใบมรณบัตร
3. หนังสือรับรองการตาย (ถ้ามี)
4. ใบรับรองแพทย์ (กรณีมีการรักษาก่อนเสียชีวิต)
5.สำเนาบัตรประชาชนของผู้เอาประกันและผู้รับประโยชน์
6.สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เอาประกันและผู้รับประโยชน์
กรณีเสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุ
1.สำเนาบันทึกประจำวันจากสถานีตำรวจ
2.สำเนาใบชันสูตรพลิกศพ
กรณีสูญเสียอวัยวะและทุพพลภาพ
1.ใบรับรองแพทย์
2.สำเนาบันทึกประจำวันจากสถานีตำรวจ (กรณีเกิดอุบัติเหตุ)
หากเกิดการเรียกร้องค่าสินไหมขึ้น ให้ผู้เอาประกันแจ้งโดยตรงกับฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัทที่สังกัดทันที และบริษัท จะแจ้งให้ทาง บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ทราบภายใน 14 วันนับแต่วันที่ผู้เอาประกันประสบอุบัติเหตุหรือทันทีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิต
กรณีใช้บัตรประกันกลุ่ม
- ให้ยื่นบัตรประกันกลุ่มฯกับสถานพยาบาลในเครือข่ายที่บริษัทฯ ได้เปิดเครดิตไว้เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลโดยยื่นพร้อมบัตรประชาชนและบัตรประจำตัวคนไข้
- ให้ผู้เอาประกันลงนามเพื่อรับทราบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดในเอกสารของสถานพยาบาลทุกครั้ง
- หากมีค่าใช้จ่ายส่วนที่เกินกว่าผลประโยชน์ในบัตรประกันกลุ่มฯ ผู้เอาประกันพนักงานต้องเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายส่วนเกินนั้นที่เคาน์เตอร์แคชเชียร์ของสถานพยาบาล
- บัตรประกันกลุ่มไม่สามารถใช้ได้ในกรณีที่เข้ารักษาด้วยโรคที่อยู่ในข้อยกเว้นของกรมธรรม์ ฉะนั้น ผู้เอาประกันจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษานี้ทั้งหมด
กรณีไม่ใช้บัตรประกันกลุ่ม
- กรณีที่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่นอกเหนือจากที่ บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ได้เปิดเครดิตไว้ หรืออาจเป็น สถานพยาบาลที่เปิดเครดิต แต่ผู้เอาประกันมิได้นำบัตรประกันกลุ่มไปแสดงผู้เอาประกันพต้องชำระค่ารักษาพยาบาลทั้งหมดไปก่อน และนำใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์ตัวจริงที่ระบุสาเหตุของโรคที่ทำการรักษาอย่างชัดเจน ตามวันที่ทำการรักษานำส่งให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลเพื่อทำการเรียกร้องค่าสินไหมต่อไป
- กรณีทำใบเสร็จรับเงินหรือใบรับรองแพทย์สูญหาย
* ต้องมีสำเนาใบแจ้งความ 1 ฉบับ
* ต้องมีจดหมายรับรองจากผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล
* ต้องขอสำเนาใบเสร็จรับเงิน/ใบรับรองแพทย์ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องจากสถานพยาบาล
หมายเหตุ : บริษัทฯ สงวนสิทธิที่จะไม่จ่ายค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด หากเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้องครบถ้วนหรือตรวจสอบพบว่าผู้ถือบัตรได้ขอแยกใบเสร็จรับเงิน หรือนำผู้อื่นไปขอรับการรักษาแทนหรือโรคที่อยู่ในข้อยกเว้นของกรมธรรม์โดยขอให้แพทย์หรือเจ้าหน้าที่สถานพยาบาลเขียนแก้ใขโรคเป็นต้น
* ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้ง เพื่อระบุวัน เวลา และสถานที่เกิดเหตุพร้อมทั้งสาเหตุโดยละเอียดในใบรับรองแพทย์
กรณีใช้บัตรประกันกลุ่ม เข้ารับการรักษากับสถานพยาบาลที่บริษัทฯ กำหนด
- ผู้เอาประกันยื่นบัตรที่บริษัทฯ ออกให้ พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน แก่เจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลทุกครั้ง
- สิทธิในการใช้บัตร ทั้งกรณีคนไข้ในและคนไข้นอก : สามารถรับการรักษาได้ตามค่าใช้จ่ายจริง แต่ไม่เกินผลประโยชน์ที่ระบุไว้ในบัตร
* หากมีค่าใช้จ่ายที่เกินจากผลประโยชน์ที่ระบุไว้ผู้เอาประกันจะต้องจ่ายส่วนเกินสิทธินั้นแก่สถานพยาบาลทันที
- เมื่อรับการรักษาแล้ว ให้ผู้เอาประกันลงชื่อกำกับในใบแจ้งหนี้ หรือใบเสร็จรับเงิน ของสถานพยาบาลทุกครั้งเพื่อรับทราบยอดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
กรณีเข้ารับการรักษากับสถานพยาบาลนอกเหนือจากที่บริษัทฯ กำหนด
- ผู้เอาประกันจะต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน และนำหลักฐานใบรับรองแพทย์พร้อมระบุโรคที่รักษาแนบกับใบเสร็จรับเงิน ส่งให้กับบริษัทฯ เพื่อเรียกร้องค่าชดเชยตามสิทธิความคุ้มครองของผู้เอาประกันต่อไป
กรณีมีข้อสงสัยหรือต้องการขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ฝ่ายการตลาดสถาบัน 2
โทร. 0 2261 2300 ต่อ 1222 - 1223 , 1242 , 1234 และ 1238 โทรสาร. 0 2204 0092
E-Mail : group3@ocean.co.th